โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี
ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย เปิดงานวิชาการ” รู้ทัน รับมือไว
ห่างไกลอัมพาต” เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
ลดความเสี่ยง และป้องกันการเกิดโรค
วันนี้ (30 มีนาคม
2560 ) ศาสตราจารย์กิติคุณนายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ผู้ช่วยเลขาธิการ สภากาชาดไทย
รักษาการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นประธานเปิดงานวิชาการ” รู้ทัน รับมือไว ห่างไกลอัมพาต “ที่ อาคารอนุสรณ์
100 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย โดยมีประชาชน
คณะแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำ ,นักวิชาการ
เข้าให้ความรู้และร่วมงานครั้งนี้จำนวนมาก
ปัจจุบันโรงอัมพาต หรือ
โรคหลอดเลือดในสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก
ปัจจุบันประชากรทั่วโลกป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 17 ล้านคน
เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 6.5
ล้านคน
ซึ่งผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม
รวมถึงความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ
โดยประเทศไทย
พบว่าอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศไทยในปี
2556-2558 เท่ากับ 36.13 , 38.66 และ 42.62 ตามลำดับ
ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นทุกปี
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าสถานการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองของโลกและของประเทศไทย
เป็นภัยที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลก
สำหรับในปี พ.ศ. 2559 องค์การอัมพาตโลก
ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์วันอัมพาตโลกไว้ คือ “ Face the Facts : Stroke
is Treatable “ โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง
และตระหนักถึงอาการเบื้องต้นและเข้ารักษาให้ทันเวลา
ดังนั้นเพื่อเป็นกาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับอาการของโรคหลอดเลือดสมองและการมาโรงพยาบาลให้ทันภายใน
3 ชั่วโมงเพิ่มมากขึ้น
จึงต้องเร่งให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนทั่วไป
และผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ด้านนายแพทย์คงศักดิ์ อุไรวงศ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา กล่าวว่า
ดังนั้นฝ่ายวิชาการร่วมกับงานบริการปฐมภูมิ ศูนย์ประกันสุขภาพ
จึงได้จัดการประชุมวิชาการเรื่อง “รู้ทัน รับมือไว
ห่างไกลอัมพาต” ขึ้น
เพื่อเป็นการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยง
ป้องกันการเกิดโรคและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย ให้กับประชาชน
ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองภาคตะวันออก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
(อสม.) และผู้สนใจจากวิทยากรที่มีความรู้จากสถานที่ต่างๆในครั้งนี้
ความคิดเห็น
/