saostar

Banner โฆษณา

แผนกู้ ซากเรือโอเชี่ยนดรีมล่ม คาอ่าวแหลมฉบัง สูญไปแล้ว 20 ล้านบาท


แผนกู้ ซากเรือท่องเที่ยวหลังจมบริเวณหน้าเขื่อนกันคลื่นท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี มานานกว่า 1 ปี ล้มเหลว ทั้งๆที่มีแผนกู้ซากเรือมาแล้ว 2 ครั้ง ค่าใช้จ่ายประมาณ 20  ล้านบาท  ด้านผู้เชี่ยวชาญแนะอาจต้องตัดเป็นเศษเหล็กกลางทะเล เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

จากกรณีเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ชื่อ โอเชียน ดรีม (OCEAN  DREAM) จากประเทศจีน จมบริเวณหน้าเขื่อนกันคลื่นท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 27  กุมภาพันธ์  2559 ที่ผ่านมา ขณะนี้เวลาผ่านไปแล้วกว่า  1  ปี  แต่ยังไร้วี่แววจะกู้ซากเรือลำดังกล่าวขึ้นมาได้  โดยที่ผ่านมา มีบริษัท ศรีราชา ออฟชอร์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับมอบหมายจากกรมเจ้าท่าให้ดำเนินการกู้ซากเรือดังกล่าว  เพราะหวั่นจะส่งผลกระทบต่อเรือขนส่งสินค้า หรือ เรือประมงที่สัญจรผ่านไปมาบริเวณนั้น อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ โดยหากเกิดขึ้นจะความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล
 ล่าสุด วันนี้ ( 17 เมษายน  2560 )นายมนตรี  กิจสวัสดิ์โอสถ  ตัวแทนบริษัท ศรีราชา ออฟชอร์ เซอร์วิส จำกัด ที่ได้รับการมอบหมายจากกรมเจ้าท่าให้ดำเนินการกู้ซากเรือ  กล่าวว่า ทางบริษัทฯได้วางแผนการกู้ซากเรือดังกล่าวมาแล้ว 2 ครั้ง  ซึ่งครั้งแรกไม่ประสบผลสำเร็จ จึงต้องยกเลิกและต้องวางแผนการกู้ซากเรือใหม่
ส่วนแผนครั้งที่ 2 คือ ทำถังบอลลูน  12  ถัง เพื่อใช้หนุนเรือให้เรือลอยขึ้นมาเหนือน้ำ โดยติดตั้งปั๊มน้ำอีก 4  ตัว เพื่อดูดน้ำในเรือออก ซึ่งขั้นตอนการสูบน้ำนั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บริเวณหัวเรือ ,กลางเรือและท้ายเรือ แต่การสูบน้ำออกจากเรือนั้นไม่ประสบผลสำเร็จแม้จะให้นักประดาน้ำไปเชื่อมปิดจุดรั่วต่างๆแล้ว แต่จำนวนรูรั่วที่น้ำไหลเข้ามีจำนวนมาก ทำให้เรือไม่สามารถลอยขึ้นมาเหนือน้ำได้ ทำให้แผนดังกล่าวล้มเหลว
นายมนตรี  กล่าวต่อไปว่า  สำหรับแผนกู้ซากเรือทั้ง 2 ครั้ง ที่ผ่านมา ใช้งบประมาณไปแล้วเกือบ 20 ล้านบาท แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยขณะนี้เตรียมประสานเจ้าของเรือ เพื่อวางแผนการกู้ซากเรือลำนี้ต่อไป เพราะขณะนี้งบประมาณในการกู้ซากเรือที่บริษัทฯออกไปแล้วไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องประสานเจ้าของเรือเพื่อสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม
ขณะนี้หวั่นใจในการกู้ซากเรือในครั้งที่ 3  ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก เนื่องจากต้องใช้เครนขนาดใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ เข้ามาดำเนินการแล้ว เพราะวิธีต่างๆได้นำมาใช้หมดแล้ว แต่ก็ไม่สามารถกู้ซากเรือขึ้นมาได้ ดังนั้นจะต้องร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแนวทางหรือทิศทางการกู้ซากเรือต่อไป
นายมนตรี  กล่าวว่า ทางกรมเจ้าท่า เร่งรัดให้ตัวแทนเจ้าของเรือ ให้กู้ซากเรือโดยด่วน เพราะหวั่นส่งผลกระทบต่อเรือสินค้าและเรือประมงที่สัญจรผ่านไปมา แต่อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯได้จัดเรือตรวจการณ์เฝ้าระวังบริเวณรอบเรือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบขึ้น
 แหล่งข่าวจากผู้เชี่ยวชาญ  กรมเจ้าท่า  กล่าวว่า  ขณะนี้คงไม่มีแนวทางในการกู้ซากเรือลำนี้ให้ขึ้นจากทะเลได้แล้ว เพราะที่ผ่านมามีหลายแนวทางและสิ้นเปลืองงบประมาณไปแล้วเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเรือลำดังกล่าวก็จมอยู่ในน้ำทะเลมานานกว่า 1  ปีแล้ว  คุณภาพของเหล็กและอุปกรณ์ต่างๆภายในเรือคงเสียหายหมดแล้ว และจะตีเป็นมูลค่าก็ได้ไม่มาก ดังนั้นวิธีที่จะกระทำได้ในขณะนี้ คือ ต้องตัดเป็นเศษเหล็กบริเวณที่เรือจมเท่านั้น เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามจะต้องปรึกษาวางแนวทางที่ชัดเจนก่อนจะดำเนินการต่อไป

"; /* */

แผนกู้ ซากเรือท่องเที่ยวหลังจมบริเวณหน้าเขื่อนกันคลื่นท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี มานานกว่า 1 ปี ล้มเหลว ทั้งๆที่มีแผนกู้ซากเรือมาแล้ว 2 ครั้ง ค่าใช้จ่ายประมาณ 20  ล้านบาท  ด้านผู้เชี่ยวชาญแนะอาจต้องตัดเป็นเศษเหล็กกลางทะเล เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

จากกรณีเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ชื่อ โอเชียน ดรีม (OCEAN  DREAM) จากประเทศจีน จมบริเวณหน้าเขื่อนกันคลื่นท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 27  กุมภาพันธ์  2559 ที่ผ่านมา ขณะนี้เวลาผ่านไปแล้วกว่า  1  ปี  แต่ยังไร้วี่แววจะกู้ซากเรือลำดังกล่าวขึ้นมาได้  โดยที่ผ่านมา มีบริษัท ศรีราชา ออฟชอร์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับมอบหมายจากกรมเจ้าท่าให้ดำเนินการกู้ซากเรือดังกล่าว  เพราะหวั่นจะส่งผลกระทบต่อเรือขนส่งสินค้า หรือ เรือประมงที่สัญจรผ่านไปมาบริเวณนั้น อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ โดยหากเกิดขึ้นจะความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล
 ล่าสุด วันนี้ ( 17 เมษายน  2560 )นายมนตรี  กิจสวัสดิ์โอสถ  ตัวแทนบริษัท ศรีราชา ออฟชอร์ เซอร์วิส จำกัด ที่ได้รับการมอบหมายจากกรมเจ้าท่าให้ดำเนินการกู้ซากเรือ  กล่าวว่า ทางบริษัทฯได้วางแผนการกู้ซากเรือดังกล่าวมาแล้ว 2 ครั้ง  ซึ่งครั้งแรกไม่ประสบผลสำเร็จ จึงต้องยกเลิกและต้องวางแผนการกู้ซากเรือใหม่
ส่วนแผนครั้งที่ 2 คือ ทำถังบอลลูน  12  ถัง เพื่อใช้หนุนเรือให้เรือลอยขึ้นมาเหนือน้ำ โดยติดตั้งปั๊มน้ำอีก 4  ตัว เพื่อดูดน้ำในเรือออก ซึ่งขั้นตอนการสูบน้ำนั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บริเวณหัวเรือ ,กลางเรือและท้ายเรือ แต่การสูบน้ำออกจากเรือนั้นไม่ประสบผลสำเร็จแม้จะให้นักประดาน้ำไปเชื่อมปิดจุดรั่วต่างๆแล้ว แต่จำนวนรูรั่วที่น้ำไหลเข้ามีจำนวนมาก ทำให้เรือไม่สามารถลอยขึ้นมาเหนือน้ำได้ ทำให้แผนดังกล่าวล้มเหลว
นายมนตรี  กล่าวต่อไปว่า  สำหรับแผนกู้ซากเรือทั้ง 2 ครั้ง ที่ผ่านมา ใช้งบประมาณไปแล้วเกือบ 20 ล้านบาท แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ โดยขณะนี้เตรียมประสานเจ้าของเรือ เพื่อวางแผนการกู้ซากเรือลำนี้ต่อไป เพราะขณะนี้งบประมาณในการกู้ซากเรือที่บริษัทฯออกไปแล้วไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องประสานเจ้าของเรือเพื่อสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม
ขณะนี้หวั่นใจในการกู้ซากเรือในครั้งที่ 3  ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก เนื่องจากต้องใช้เครนขนาดใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ เข้ามาดำเนินการแล้ว เพราะวิธีต่างๆได้นำมาใช้หมดแล้ว แต่ก็ไม่สามารถกู้ซากเรือขึ้นมาได้ ดังนั้นจะต้องร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแนวทางหรือทิศทางการกู้ซากเรือต่อไป
นายมนตรี  กล่าวว่า ทางกรมเจ้าท่า เร่งรัดให้ตัวแทนเจ้าของเรือ ให้กู้ซากเรือโดยด่วน เพราะหวั่นส่งผลกระทบต่อเรือสินค้าและเรือประมงที่สัญจรผ่านไปมา แต่อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯได้จัดเรือตรวจการณ์เฝ้าระวังบริเวณรอบเรือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบขึ้น
 แหล่งข่าวจากผู้เชี่ยวชาญ  กรมเจ้าท่า  กล่าวว่า  ขณะนี้คงไม่มีแนวทางในการกู้ซากเรือลำนี้ให้ขึ้นจากทะเลได้แล้ว เพราะที่ผ่านมามีหลายแนวทางและสิ้นเปลืองงบประมาณไปแล้วเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญเรือลำดังกล่าวก็จมอยู่ในน้ำทะเลมานานกว่า 1  ปีแล้ว  คุณภาพของเหล็กและอุปกรณ์ต่างๆภายในเรือคงเสียหายหมดแล้ว และจะตีเป็นมูลค่าก็ได้ไม่มาก ดังนั้นวิธีที่จะกระทำได้ในขณะนี้ คือ ต้องตัดเป็นเศษเหล็กบริเวณที่เรือจมเท่านั้น เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามจะต้องปรึกษาวางแนวทางที่ชัดเจนก่อนจะดำเนินการต่อไป

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ