โรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย
โดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า
ในนิคมฯเหมราชชลบุรี ต.บ่อวิน เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 โดยย้ำเตรียมวาง 8 มาตรการหลัก
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อชาวบ้านและชุมชน
หากได้รับการพิจารณา พร้อมเปิดดำเนินการในปลายปี 2562 นี้
วันนี้(25
เมษายน 2560 ) นายสุพงษ์ พันธ์เฉลิมชัย
รองนายกเทศมนตรีนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
รักษาการนายกเทศมนตรีนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2
โครงการกำจัดกากอุตสาหกรรม ที่ไม่เป็นอันตราย โดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า ของบริษัท
ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ณ
ห้องประชุมชั้น 2 เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมีนายสมชัย กลิ่นสุวรรณมาลี ผู้บริหารบริษัทชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
นายปรีชาวิทย์ รอดรัตน์ กรรมการผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ
โดยผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลบ่อวิน ,องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง
และเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ กว่า
300 คน เข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้
นายสมชัย
กลิ่นสุวรรณมาลี ผู้บริหารบริษัทชลบุรี คลีน
เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด กล่าวว่า
ในวันนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการกำจัดกากอุตสาหกรรม ที่ไม่เป็นอันตราย
โดยแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า
อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ในพื้นที่
15.23 ไร่ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,500 ล้านบาท
โดยใช้เชื้อเพลิงจากกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายมาผลิตไฟฟ้าและส่งเข้าโครงข่ายสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) โดยมีกำลังการผลิต 8.63 เมกะวัตต์
และกำลังไฟฟ้าส่วนหนึ่งใช้ในกิจกรรมภายในบริษัท และส่งเข้าสู่โครงข่ายของ
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 6.90
เมกะวัตต์
ซึ่งจะต้องใช้กากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ 396 ตันต่อวัน หรือ 144,540 ตันต่อปี
โดยหลังจากรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว
จะรวบรวมข้อมูลทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)
ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ก็พร้อมดำเนินการก่อสร้างภายใน 24 เดือน
โดยจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดดำเนินการได้ภายในปลายปี 2562
นี้
ด้านปรีชาวิทย์ รอดรัตน์
ที่ปรึกษาบริษัทเอ็นไว เวิร์ค จำกัด
กรรมการผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
กล่าวว่า
การดำเนินการในครั้งนี้ได้วางมาตรการป้องกันปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 8 มาตรการหลัก คือ 1.ด้านคุณภาพอากาศ
2.ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
3.ด้านระดับเสียง 4.ด้านทรัพยากรน้ำใช้
5.ด้านคุณภาพน้ำ 6. ด้านการคมนาคม
7.ด้านการจัดการของเสีย และด้านสังคมเศรษฐกิจ
ความคิดเห็น
/