เทศบาลเมืองศรีราชาจัดขบวนแห่ประเพณีกองข้าว เพื่อถวายความอาลัย
แสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
โดยขบวนสร้างความสวยงามและเป็นที่เรียบง่าย
เทศบาลเมืองศรีราชา
ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดพิธีกองข้าวอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีขบวนกว่า 20 หน่วยงาน เพื่อถวายความอาลัย แสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
ร่วมแห่เดินรอบเมืองศรีราชา
ซึ่งมีความยาวของขบวนกว่า 2 กิโลเมตร
สร้างความสวยงามตะการตาต่อนักท่องเที่ยวและผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 21 เม.ย.2560
เทศบาลเมืองศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
นายธานี รัตนานนท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีราชา
ได้จัดงานประเพณีกองข้าวศรีราชา ซึ่งได้จัดเป็นประจำขึ้นทุกปี โดยกิจกรรมที่สร้างสีสันสวยงาม คือ ขบวนแห่ของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
ในอำเภอศรีราชา ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 27หน่วยงาน ได้ตกแต่งรถเพื่อถวายความอาลัย แสดงความจงรักภักดี
แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช โดยมีความยาวของขบวนกว่า 2 กิโลเมตร
โดยทุกคนต่างร่วมใจกันใส่เสื้อลายดอกที่เป็นสัญลักษณ์ในงานกองข้าวในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนั้นบางขบวนยังแต่งตัวสีสันสวยงาม
โดยขบวนเริ่มต้นแห่จากหน้าเทศบาลเมืองศรีราชา ผ่านไปรอบๆเมืองศรีราชา
เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมความสวยงาม
และขบวนจะมาสิ้นสุดที่ถนนสายสวนสุขภาพเกาะลอย
แม้ในช่วงเดินนั้นอากาศจะร้อน แต่ทุกขบวนก็ร่วมเดินอย่างเต็มที่อีกด้วย
สำหรับการจัดงานประเพณีกองข้าวนั้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น
ซึ่งปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีราชาได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน
และให้ชื่อ ว่า “ ร่วมสร้างสรรค์ความเป็นไทย
ในงานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย พร้อมใจกันสวมเสื้อลายดอกและชุดไทยร่วมงาน”
อีกด้วย
หลังจากนั้น เวลา 18.00 น.วันที่ 21
เม.ย.2560 ที่สวนสุขภาพเกาะลอย อ.ศรีราชา
จ.ชลบุรี นายธานี รัตนานนท์
นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีราชา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายวรญาณ บุญณราช
นายอำเภอศรีราชา
ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีพิธีการบรวงสรวงโดยพิธีพราหมณ์ตามความเชื่อของชาวบ้าน
เพื่อเป็นการเชิญภูตผีมาร่วมกินอาหารกันปีละหนึ่งครั้ง โดยมี นายสนธยา คุณปลื้ม
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีบวงสรวง
รวมทั้งนักการเมืองท้องถิ่นและประชาชนมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก
สำหรับประเพณีกองข้าว เทศบาลเมืองศรีราชานั้น
เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ที่สืบต่อๆ กันมา
ตามประวัติเล่าว่า ประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม ฯลฯ
ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป แต่ที่ศรีราชายังคงอนุรักษ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่นมานานกว่า 20
ปีแล้ว
จนกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อเทศบาลเมืองศรีราชา
และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มตั้งแต่ปี 2536
เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19-21 เมษายนของทุกปี
และในอดีตเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ศรีมหาราชา
หรือพิธีกองข้าว
ชาวบ้านจะนัดหมายกันมานำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกัน
และเชิญภูตผีทั้งหลายมากินปีละครั้ง
โดยเชื่อว่าภูตผีจะไม่มาทำอันตรายชีวิตครอบครัว หรือทรัพย์สินของตนเอง
หลังพิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกัน มีการร้องรำทำเพลง
การละเล่นสนุกสนาน มีเคล็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน
แต่จะทิ้งไว้เป็นทานแก่สัตว์
การจัดงานประเพณีกองข้าวนั้น
เป็นการสนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น ปัจจุบัน
เทศบาลเมืองศรีราชา ได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน และให้ชื่อ ว่า "ร่วมสร้างสรรค์ความเป็นไทย
ในงานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
พร้อมใจกันสวมเสื้อลายดอกและชุดไทยร่วมงานนี้อีกด้วย
"; /* */
เทศบาลเมืองศรีราชาร่วมกับชาวศรีราชา จัดพิธีบวงสรวงงานกองข้าว ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมงาน นำอาหารคาวหวาน
มาร่วมล้อมวงกินกัน อย่างสนุกสนาน
เทศบาลเมืองศรีราชาจัดขบวนแห่ประเพณีกองข้าว เพื่อถวายความอาลัย
แสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
โดยขบวนสร้างความสวยงามและเป็นที่เรียบง่าย
เทศบาลเมืองศรีราชา
ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดพิธีกองข้าวอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีขบวนกว่า 20 หน่วยงาน เพื่อถวายความอาลัย แสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
ร่วมแห่เดินรอบเมืองศรีราชา
ซึ่งมีความยาวของขบวนกว่า 2 กิโลเมตร
สร้างความสวยงามตะการตาต่อนักท่องเที่ยวและผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 21 เม.ย.2560
เทศบาลเมืองศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
นายธานี รัตนานนท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีราชา
ได้จัดงานประเพณีกองข้าวศรีราชา ซึ่งได้จัดเป็นประจำขึ้นทุกปี โดยกิจกรรมที่สร้างสีสันสวยงาม คือ ขบวนแห่ของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
ในอำเภอศรีราชา ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 27หน่วยงาน ได้ตกแต่งรถเพื่อถวายความอาลัย แสดงความจงรักภักดี
แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช โดยมีความยาวของขบวนกว่า 2 กิโลเมตร
โดยทุกคนต่างร่วมใจกันใส่เสื้อลายดอกที่เป็นสัญลักษณ์ในงานกองข้าวในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนั้นบางขบวนยังแต่งตัวสีสันสวยงาม
โดยขบวนเริ่มต้นแห่จากหน้าเทศบาลเมืองศรีราชา ผ่านไปรอบๆเมืองศรีราชา
เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมความสวยงาม
และขบวนจะมาสิ้นสุดที่ถนนสายสวนสุขภาพเกาะลอย
แม้ในช่วงเดินนั้นอากาศจะร้อน แต่ทุกขบวนก็ร่วมเดินอย่างเต็มที่อีกด้วย
สำหรับการจัดงานประเพณีกองข้าวนั้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น
ซึ่งปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีราชาได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน
และให้ชื่อ ว่า “ ร่วมสร้างสรรค์ความเป็นไทย
ในงานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย พร้อมใจกันสวมเสื้อลายดอกและชุดไทยร่วมงาน”
อีกด้วย
หลังจากนั้น เวลา 18.00 น.วันที่ 21
เม.ย.2560 ที่สวนสุขภาพเกาะลอย อ.ศรีราชา
จ.ชลบุรี นายธานี รัตนานนท์
นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีราชา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายวรญาณ บุญณราช
นายอำเภอศรีราชา
ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีพิธีการบรวงสรวงโดยพิธีพราหมณ์ตามความเชื่อของชาวบ้าน
เพื่อเป็นการเชิญภูตผีมาร่วมกินอาหารกันปีละหนึ่งครั้ง โดยมี นายสนธยา คุณปลื้ม
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีบวงสรวง
รวมทั้งนักการเมืองท้องถิ่นและประชาชนมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก
สำหรับประเพณีกองข้าว เทศบาลเมืองศรีราชานั้น
เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ที่สืบต่อๆ กันมา
ตามประวัติเล่าว่า ประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม ฯลฯ
ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป แต่ที่ศรีราชายังคงอนุรักษ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่นมานานกว่า 20
ปีแล้ว
จนกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อเทศบาลเมืองศรีราชา
และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มตั้งแต่ปี 2536
เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19-21 เมษายนของทุกปี
และในอดีตเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ศรีมหาราชา
หรือพิธีกองข้าว
ชาวบ้านจะนัดหมายกันมานำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกัน
และเชิญภูตผีทั้งหลายมากินปีละครั้ง
โดยเชื่อว่าภูตผีจะไม่มาทำอันตรายชีวิตครอบครัว หรือทรัพย์สินของตนเอง
หลังพิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกัน มีการร้องรำทำเพลง
การละเล่นสนุกสนาน มีเคล็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน
แต่จะทิ้งไว้เป็นทานแก่สัตว์
การจัดงานประเพณีกองข้าวนั้น
เป็นการสนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น ปัจจุบัน
เทศบาลเมืองศรีราชา ได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน และให้ชื่อ ว่า "ร่วมสร้างสรรค์ความเป็นไทย
ในงานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
พร้อมใจกันสวมเสื้อลายดอกและชุดไทยร่วมงานนี้อีกด้วย
ความคิดเห็น
/