saostar

Banner โฆษณา

ชลประทานที่ 9 วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออก รองรับ EEC.


ชลประทานที่  9 วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออก รองรับ EEC ในระยะสั้น-กลาง-ยาว  เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้น้ำในเขตภาคตะวันออก มั่นใจไม่มีปัญหาและจะมีปริมาณน้ำในแต่ละอ่างเพิ่มมากขึ้นด้วยเพราะระบบการจัดการที่ดีของชลประทาน
นายเกิดชัย  ธัญวัฒนกุล  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 9 จ.ชลบุรี  กล่าวว่า  กรมชลประทาน  อยู่ในกลุ่มงานพัฒนา เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)  ในการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำนั้น โดยต้องพิจารณาจากปริมาณน้ำต้นทุนจากแหล่งกักน้ำที่มีอยู่ และคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำของภาคอุปโภคและภาคอุตสาหกรรม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สำหรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำ ของกรมชลประทาน  เพื่อรองรับความต้องการน้ำระยะ 20 ปี โดยระยะสั้น (ดำเนินการปี  2560-2561 ) ประกอบด้วย 1. โครงการปรับปรุงคลองชลประทานพานทองเพื่อรองรับระบบผันน้ำจากคลองชลประทานพานทองไปยังอ่างเก็บน้ำบางพระ  2. โครงการระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ 3.โครงการอาคารอัดน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำประแสร์ 4.โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำดอกกราย และ 5 โครงการอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำระยอง 6.โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 7.โครงการปรับปรุงระบบระบายน้ำหน้าพระธาตุ ระยะที่ 2  8. โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนหลักการพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก 215.87 ล้านลูกบาศก์เมตร
นายเกิดชัย  กล่าวต่อไปว่า  สำหรับแผนระยะปานกลาง (ดำเนินการปี 2562-2564 )  ประกอบด้วย  1.โครงการระบบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่มายังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 2.โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองสียัด 3.โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองระบม 4.โครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำหนองค้อ-อ่างเก็บน้ำบางพระ 5. โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองค้อ 6.โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบ้านบึง 7.โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำมาบปะชัน และ 8. โครงการบรรเทาอุทกภัยคลองทับมา  ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก 204.4 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนระยะยาวนั้น( ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ) ประกอบด้วย 1.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ 2.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว 3.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด 4. โครงการเพิ่มศักยภาพระบบท่อผันน้ำคลองวังโตนดอ่างเก็บน้ำประแสร์ 5.โครงการผันน้ำเขื่อนสตึงนัม-อ่างเก็บน้ำประแสร์ และ6.โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบส่งแวดล้อม การพัฒนาอ่างเก็บน้ำชายฝั่งทะเล พื้นที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง  หากเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 648.3 ล้านลูกบาศก์เมตร

นายเกิดชัย   กล่าวว่า  สำหรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำ รองรับ EEC ทางกรมชลประทาน จะวางแผนไม่ให้มีปัญหาในเรื่องที่ดิน เพราะหากมีปัญหาแล้วจะใช้เวลาในการดำเนินการเกิน 5 ปี   ดังนั้นกรมชลประทานจึงมีแผนพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมที่มีอยู่ให้มีความจุเพิ่มมากขึ้น  เช่น โครงการผันน้ำจากอ่างหนึ่งไปยังอีกอ่างหนึ่ง
สำหรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำ รองรับ EEC.นั้น  จะใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 11,000 ล้านบาท  ซึ่งน้อยที่สุดในการลงทุน ของทุกภาคส่วนที่เข้ามาลงทุนในโครงการ EEC.   แต่อย่างไรก็ตามแผนการรองรับน้ำ นั้นอาจจะไม่เป็นไปตามแผนงาน เนื่องจาก EEC.ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการโดยตรง โดยจะต้องมาใช้งบประมาณจากส่วนราชการ  ซึ่งมีเพียงปีแรก ในปี 2560  ที่ทางคณะรัฐมนตรี ไม่ให้ใช้งบกว่า 1,027 ล้านบาท  ขณะนี้อยู่ระหว่างแผนของบประมาณ




ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ