กรมทางหลวงชนบท หารือชาวบ้าน ต.บึง
สร้างถนนสาย ชบ.1032 แยก ทล.7-บ.ปากร่วม อ.ศรีราชา แนวถนนใหม่ ตอนที่ 2 ระยะทางประมาณ 2 กม.
โดยเป็นการสำรวจออกแบบ แนวถนนใหม่
เพื่อหลีกเลี่ยงแหล่งชุมชนหนาแน่นในตลาดบึง
นายอมร จันทร์สกุล
ผู้อำนวยการกลุ่มงานออกแบบทางโลจิสติกส์ สำนักสำรวจออกแบบ กรมทางหลวงชนบท ,นายสุเชฎฐ์ ดอกไม้ วิศวกร บริษัทที่ปรึกษา บริษัท พีทีอี
เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
พร้อมด้วยกำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ต.บึง
อ.ศรีราชา ประมาณ 20 คน ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน
เพื่อใช้ในการก่อสร้างถนนสายชบ.1032 แยก ทล.7-บ.ปากร่วม อ.ศรีราชา แนวถนนใหม่และเสนอแนวทางการก่อสร้าง
ณ ห้องประชุมโสตพะยังกูล โรงเรียนบึงศรีราชาพิทยาคม ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
นายอมร
จันทร์สกุล กล่าวว่า บริเวณดังกล่าวมีแนวโน้มปริมาณจราจรเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งเป็นอุปสรรคในการคมนาคมขนส่งสินค้าของนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ เนื่องด้วยถนนสาย ชบ. 1032 แยก ทล.7-บ.ปากร่วม
อ.ศรีราชา เป็นถนนเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบทสาย
รย.3013 (บริเวณแยกปากร่วม)
ที่เป็นสถานที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม จำนวนมาก
เพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบัง
แต่ปัจจุบันถนนดังกล่าวมีความคับแคบ
และมีปริมาณรถบรรทุกสัญจรผ่านแหล่งชุมชนจำนวนมาก
ดังนั้นกรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงถนนสายดังกล่าว
โครงการดังกล่าว
จะต้องมีการสำรวจออกแบบถนน เพื่อได้แบบก่อสร้างและแผนที่เขตทาง
หลังจากนั้นก็จะต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน คาดว่าในเบื้องต้นจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.
2562-2563 จากนั้นในปี พ.ศ. 2564-2565
จะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะใช้ระยะรวมทั้งสิ้น 5 ปี
ด้านนายชูกฤษณ์ แตงอ่อน
กำนันตำบลบึง อ.ศรีราชา กล่าวว่า
สำหรับวันนี้ ได้เรียกชาวบ้าน ที่คาดว่าจะถูกเวนคืนที่ดิน
ที่จะใช้ก่อสร้างถนนสาย ชบ.1032 แยก ทล.7-บ.ปากร่วม อ. ศรีราชา ระยะทางประมาณ 2
กิโลเมตร เพื่อให้ทราบแนวเขตการก่อสร้างถนนสายดังกล่าว
จะเข้าไปในพื้นที่ของชาวบ้านและถูกเวนคืนที่ดินจำนวนเท่าไร โดยจากการสำรวจแนวเขตทางนั้น
จะส่งผลกระทบที่ดินของชาวบ้านประมาณ 20
คนเท่านั้น
ซึ่งการก่อสร้างถนนสายนี้จากเดิมขนาด
2 ช่องจราจร ให้เป็น 4 ช่องจราจร
แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งชุมชนและมีอาคารบ้านเรือนของชาวบ้านเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านเป็นจำนวนมาก
จึงเพียงแต่ปรับปรุงถนนเส้นเดิมพร้อมขยายไหล่ทางและท่อระบายน้ำเท่านั้น เพื่อรองรับการเจริญเติบโตในอนาคต
ความคิดเห็น
/