รัฐ-เอกชน ร่วมแก้ไขปัญหาการทิ้งขยะ-ของเสียจากเรือสินค้าลงทะเล
บริเวณเกาะสีชัง ทั้งในระยะสั้น-ยาว โดยเตรียมสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหา
นำเสนอนายกรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป
วันนี้(26 ก.ย.)
พลเรือตรี รณภพ กาญจนพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต
1 ทำการแทนผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต
1
เป็นประธานเปิดประชุมสัมมนาการแก้ปัญหาการทิ้งขยะและการปล่อยของเสียจากเรือสินค้าลงสู่ทะเลบริเวณเกาะสีชัง
อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
โดยมีนายธวัช
สุวรรณ นายอำเภอเกาะสีชัง ,นายดำรงค์ เภตรา นายกเทศมนตรีตำบลเกาะสีชัง ,นายธานี รัตนานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา ,เทศบาลตำบลบางพระ , เทศบาลเมืองแสนสุข ,มหาวิทยาลัยบูรพา ,กรมเจ้าท่า ,กรมควบคุมมลพิษ , กรมศุลกากร ,
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 13 จังหวัดชลบุรี ,สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่
2
พร้อมผู้ประกอบการเรือสินค้าที่จอดขนถ่ายสินค้าบริเวณเกาะสีชัง ร่วมประชุม
ที่ โรงแรม เคป ราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
สืบเนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
กรณีที่มีข่าวเรื่องขยะและของเสีย บริเวณเกาะสีชัง จำนวนมาก
จึงได้สั่งการให้กองทัพเรือ
โดยให้ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 1 (ศรชล. เขต
1)
เข้าร่วมดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว
และพบว่ามีจริงและได้จัดสัมมนาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขมาโดยตลอด
สำหรับการจัดสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อเป็นการหาแนวทางที่ชัดเจน
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และผลจากการประชุมครั้งนี้ จะสรุปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี
โดยมุ่งหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำผลการสัมมนาไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อลดปัญหาของขยะบริเวณดังกล่าวลงได้
ด้านนาวาเอก
วศิน สระศรีดา หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน ศรชล.เขต 1 กล่าวว่า
ในการสัมมนาดังกล่าว
มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พร้อมภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่รวมทั้งการป้องกันสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จึงเชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
การประชุมครั้งนี้
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เช่น
พิจารณาอัตราการกำหนดค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในทะเลและแม่น้ำ(แยกต่างหากเป็นการเฉพาะ
เพื่อเหมาะสมกับต้นทุน) ,การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
,การจัดเรือตรวจการณ์ลานตระเวน ,การตรวจเรือสินค้าที่จอดขนถ่ายสินค้ากลางทะเลมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบหรือไม่
, บริษัทจัดเก็บและบำบัดน้ำเสีย
หรือเรือกำจัดกากของเสียต่างๆ มีเพียงพอไหม ,รอประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม( ทส.) เรื่อง
มาตรฐานควบคุมฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากเรือที่มีการขนถ่ายสินค้าระหว่างกัน ฯลฯ
โดยต้องสรุปเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป
ความคิดเห็น
/