saostar

Banner โฆษณา

ท่าเรือคิตาคิวชู หารือท่าเรือแหลมฉบังพัฒนาท่าเรือเน้นพลังงานทดแทน

 ผู้บริหารท่าเรือคิตาคิวชู  ประเทศญี่ปุ่น เดินทางเยือนท่าเรือแหลมฉบัง หารือร่วมผู้บริหารฯ หวังร่วมกันพัฒนาท่าเรือรูปแบบใหม่ๆ  โดนเน้นพลังงานทดแทน  พร้อมทั้งส่งเสริมการตลาดท่าเรือภูมิภาค เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และขยายความร่วมมือกัน

ร.ต.ต.มนตรี  ฤกษ์จำเนียร  ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง  อ.ศรีราชา  จ.ชลบุรี  เผยว่าเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา  MR.SHIGEKI   HIGASHIDA  และ MRS. TOMOKO  TAKEMOTO  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ท่าเรือคิตาคิวชู  ประเทศญี่ปุ่น  เดินทางมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคณะผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง  ณ ห้องประชุม 1 อาคารบริหารท่าเรือแหลมฉบัง  มีนางสิริมา กีรตยาคม ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานสนับสนุน และ คณะผู้บริหารฯ ให้การต้อนรับ  โดยนางพรทิพา  ทวีนุช  ผู้อำนวยการกองบริหารงานทั่วไป ท่าเรือแหลมฉบัง บรรยายสรุปกิจการโครงการพัฒนาต่างๆของท่าเรือแหลมฉบัง ให้รับทราบ

ร.ต.ต.มนตรี  กล่าวอีกว่า  ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ MR.SHIGEKI   HIGASHIDA  และ MRS. TOMOKO  TAKEMOTO  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ท่าเรือคิตาคิวชู  ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นท่าเรือแรกที่ตกลงบันทึกความร่วมมือเป็นท่าเรือพี่น้องกับท่าเรือแหลมฉบัง  หรือ MOU เมื่อปี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นพันธมิตรในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงวิชาการ ,การช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ต่างๆ ด้านสถิติ และการประชาสัมพันธ์  ในเรื่องของการเข้าเทียบท่าของท่าเรือทั้งสองฝ่าย

นอกจากนั้นยังมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ คือ การแลกเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง 1 คน และระดับผู้ติดตาม 1 คน โดยทางท่าเรือแหลมฉบังไปเยี่ยมเยือน ของ ทั้งสองท่าเรือ โดยจะผลัดกันปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งจะมีการประชุมใหญ่ ตามวาระที่เหมาะสม  เพื่อติดตามและการพูดคุยในเรื่องต่างๆ เพือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทั้งสองท่า  ซึ่งในครั้งนี้เป็นวาระที่ ท่าเรือคิตาคิวชูมาเยือนท่าเรือแหลมฉบัง
ร.ต.ต.มนตรี  กล่าวต่อไปว่า  สำหรับท่าเรือแหลมฉบังที่ได้รับมาจากท่าเรือคิตาคิวชู ในช่วงแรกๆนั้น คือ  การออกแบบท่าเรือขั้นที่ 1 โดยใช้เทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น  เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างพร้อมๆกัน คือ การขุดลอกร่องน้ำ ,การถมทะเล ,การขนส่ง และขนถ่าย ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น
สำหรับท่าเทียบเรือในประเทศญี่ปุ่น จะมีท่าเทียบเรือประจำหัวเมืองเกือบทุกเมือง ซึ่งรวมทั้งสิ้นประมาณ 40-50 เมือง ดังนั้นยอดการขนส่งสินค้าไม่เติบโตเท่าที่ควร ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ ล้านกว่าตู้ แต่ของท่าเรือแหลมฉบังมีประมาณ  8 ล้านตู้แล้ว ทั้งๆที่เริ่มพร้อมกัน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ควรนำมาเปรียบเทียบ แต่ขอให้เป็นเพื่อนและพี่น้องกันตลอดไป และข้อให้อย่าวิตกกังวล โดยพร้อมจะให้การช่วยเหลือและให้คำปรึกษาตลอดไปหากมีการร้องขอมา ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้ กับท่าเรือคิตาคิวชู เป็นอย่างมาก

ร.ต.ต.มนตรี   กล่าวว่า   ทางท่าเรือแหลมฉบัง ยังต้องขอความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีแนวความคิดที่แตกต่าง เช่น  ขณะนี้ได้มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน เช่น  จะติดตั้งทุ่งกังหันในทะเล ,ติดตั้งระบบโซล่าต่างๆควบคู่ไปกับการพัฒนาท่าเรือ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นทางด้านสนามบินและการทำท่าเรือโดยสารควบคู่ไปกับท่าเรือตู้สินค้าไปด้วย ซึ่งจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไป
สำหรับ ผู้บริหารของท่าเรือคิตาคิวชู ที่เดินทางมาในครั้งนี้ ทางคณะผู้บริหาร ท่าเรือแหลมฉบัง ได้พาไปดูภาพมุมสูงทั้งหมด ว่าท่าเรือแหลมฉบังใน ปัจจุบันเป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังพาเข้าชมท่าเทียบเรือ B5  ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ส่งสินค้าไปยังท่าเรือคิตาคิวชูอีกด้วย และหลังจากนั้นได้เข้าไปที่ท่าเทียบเรือนามยง เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ส่งออกรถยนต์เป็นลำดับที่  4 ของโลก เพื่อดูระบบและองค์ความรู้ต่างๆ





ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ