กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดประชุมวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่
6
พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการทางทะเล ด้าน รมต.ทรัพยากรฯ เน้นย้ำทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ไขปัญหา
ที่สำคัญจะต้องช่วยกันรณรงค์ลดการใช้ขยะพลาสติก ที่ย่อยสลายยาก
ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
วันนี้(18 มิ.ย.) พลเอกสุรศักดิ์
กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมเป็นประธานในการประชุมวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ครั้งที่ 6 ณ โรงแรมบางแสนเฮอร์ริเทจ อ.เมือง
จ.ชลบุรี โดยมีนายภวัต เลิศมุกดา
รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ,รศ.ดร.สมนึก
ธีระกุลพิศุทธิ์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา และ ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์
ยีมิน นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย
ให้การต้อนรับ ซึ่งมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ,สถานศึกษา ,นักวิชาการ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
โดยการประชุมในครั้งนี้ ภายใต้หัวข้อ “
One World One Ocean: New and More Value of the Sea” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์
นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ที่สนใจทั่วไป
ได้นำเสนอผลงานวิชาการ
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางทะเล เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าหรือสร้างมูลค่าใหม่ให้กับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
พร้อมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอีกด้วย
ด้านพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า
การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากทะเลและมหาสมุทร
เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญของประเทศไทยและของโลก
ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงให้ความสำคัญ เพราะเป็นแหล่งสัตว์น้ำที่เป็นอาหาร
,เส้นทางการเดินเรือ ,เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ฯลฯ
ที่ผ่านมา ในการดูแลหรือการรักษาทรัพยากรต่างๆในทะเล
ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมเท่าที่ควร
ดังนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในปัจจุบัน
โดยเฉพาะนักวิชาการต่างๆจะต้องให้ความรู้และความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
เพื่อจะได้ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป
ดังนั้นงานทางวิชาการต่างๆที่มีคุณภาพจะมีประโยชน์ต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ
ปัจจุบันงานวิชาการ ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น
กรณีปิดเกาะตาชัย อุทยานแห่งชาติสิมิลัน มาแล้ว 2 ปีเศษ
ซึ่งปัจจุบันปะการังเริ่มฟืนตัวแล้ว 70-80 % และเมื่อสมบูรณ์ 100
% ก็จะเปิดให้บริการเช่นเดิม
ดังนั้นในอนาคตหากพื้นที่บริเวณไหนที่ทรัพยากรธรรมชาติทรุดโทรม ก็ต้องปิดให้บริการ
เพื่อให้ธรรมชาติมีการฟื้นฟู
ตามหลักวิชาการที่นำเสนอมา
พลเอกสุรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า
ปัจจุบันปัญหาขยะตามบริเวณแนวชายฝั่งทะเลในเขตพื้นที่เทศบาลต่างๆในพื้นที่จังหวัดชลบุรีนั้น ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ขยะในพื้นที่
แต่เป็นขยะที่ถูกคลื่นลมพัดมาจากที่อื่น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากฝีมือมนุษย์
และธรรมชาติ ดังนั้นจะต้องลดปัญหาขยะ ซึ่ง 80 % จากบนบก และ 20 % จากทะเล
โดยจะทำอย่างไรให้ขยะลดลง โดยเฉพาะขยะจากถุงพลาสติก ที่ย่อยสลายยาก
และยังใช้กันเป็นจำนวนมาก
นอกจากนั้น มีการศึกษาการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายง่าย ,การรณรงค์ใช้กระดาษแทนพลาสติกและโฟม
ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการผลิตแล้วแต่ต้นทุนยังสูงมาก
โดยจะต้องหามาตรการอย่างไรที่จะลดต้นทุนดังกล่าวลงและมีการคัดแยกขยะพลาสติกให้ถูกวิธี
เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ขณะนี้ปัญหาขยะพลาสติก
จากคูคลองไหลลงทะเลเป็นจำนวนมากนั้น
ขณะนี้ทางกระทรวงฯมีแนวความคิด จะนำบูมไปปิดกั้นตรงบริเวณปากน้ำก่อนไหลลงทะเล และเข้าไปดำเนินการจัดเก็บ
โดยบูมที่ปิดกั้นนั้นจะต้องมีการออกแบบเพื่อไม่ให้ไปขวางเส้นทางการจราจรหรือปากน้ำ
เพื่อแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างครบวงจร
นอกจากนั้นภายในงานยังมีพิธีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ
เพื่อความร่วมมือด้านการศึกษาและการจัดการทรัพยากรทางทะเล
ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกับมหาวิทยาลัยบูรพา ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย ด้วย
ความคิดเห็น
/