เกิดปรากฎการณ์แพลงก์ตอนบูม
น้ำทะเลเป็นสีเขียว ส่งผลให้ปลาและสัตว์น้ำหน้าอ่าวแหลมฉบังลอยตายเกลื่อนชายหาด
ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่วบริเวณ
วันนี้
( 3 ส.ค. ) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าเกิดเหตุการณ์แพลงตอนบูม หรือขี้ปลาวาฬ ทำน้ำทะเลเป็นสีเขียวขุ่น ส่งกลิ่นเหม็น
และมีสัตว์น้ำลอยตายเกยชายหาดแหลมฉบัง ชุมชนบ้านแหลมฉบัง ตำบลทุ่งศุขลา
อำเภอศรีราชา เป็นจำนวนมาก จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่ามีกลิ่นเหม็นจากน้ำทะเลจริง
และพบว่ามีปลาหน้าดิน เช่นปลากระบอก ปลาปักกะเป้า ปลากระทงเหว ปลาทูแขก แมงกะพรุน
ลอยตายเกยชายหาดเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งน้ำทะเลก็กลายเป็นสีเขียวเข้มนักท่องเที่ยวไม่สามารถลงเล่นน้ำได้
จนต้องใช้ผ้าปิดจมูกป้องกันกลิ่นกันทีเดียว
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของ
นายวีระศักดิ์ แจ้งการ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เปิดเผยว่า
ได้ลงพื้นที่ร่วมกับบริษัทกัสโก้ ตรวจสอบพื้นที่จุดที่แจ้ง และเก็บตัวอย่างน้ำ
ตั้งแต่จุดที่ปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดและปากอ่าว พบว่าค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ยกเว้นบริเวณปากอ่าวที่ค่า DO ต่ำ
และตรวจสอบข้อมูลระดับน้ำทะเลขึ้นลงของวันที่ 3 ส.ค. 61 พบว่าเมื่อเวลา 8:07 น.
เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดทำให้น้ำทะเลย้อนเข้ามาในคลองปากอ่าว
ซึ่งประกอบกับมีข้อมูลข่าวสารว่าเมื่อสัปดาห์ก่อนมีปรากฏการณ์ แพลงก์ตอนบูม ในทะเลของบางแสนและบางพระ
อาจจะส่งผลมาถึงพื้นที่แหลมฉบัง ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เดียวกัน ทำให้ปลาทะเลไม่สามารถทนกับสภาพน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปได้
เพราะปลาที่ตายมีเฉพาะพื้นที่ปากอ่าวและชายหาดแหลมฉบังเท่านั้น
ปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแหล่งน้ำที่มีปริมาณธาตุอาหารจำพวก
สารประกอบฟอสฟอรัสและไนโตรเจน
ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จำเป็นต่อการเจริญเติบโตสำหรับแพลงตอนพืชและสาหร่ายอันเป็นแหล่งอาหารขึ้นต้นของห่วงโซ่อาหาร
ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้ก็จะไปกระตุ้นให้พืชสีเขียวในลำน้ำมีการสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น
และเจริญเติบโตแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นในช่วงเวลากลางวัน
แหล่งน้ำที่เกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่นจะมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำสูงเกินกว่าขีดความเข้มข้นสูงสุด
แต่ตอนกลางคืนระดับออกซิเจนก็จะลดลงบางแห่งเป็นมากอาจลดลงถึงศูนย์
ในกรณีเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำนั้น
จนอาจทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาเพียงชั่วข้ามคืนเดียว
ความคิดเห็น
/