saostar

Banner โฆษณา

ราชมงคลตะวันออกจัดสัมมนาพัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาการส่งออก


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกจัดสัมมนาพัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย

วันนี้ ( 1 ก.ย. ) สถาบันบัวราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จัดการประชุมสัมมนาพัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2561 ณ  สถาบันบัวราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี  โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์  โฉมเฉลา ประธานเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย กล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.เตือนตา  ชาญศิลป์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มนักวิชาการ ครู อาจารย์  ผู้ประกอบการ  พนักงานภาครัฐ  ภาคเอกชน เกษตรกร ผู้ส่งออก นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ซึ่งภายในงานมีการบรรยายพิเศษ โดยวิทยากรชื่อดัง ระดับประเทศซึ่ง อย่างเช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณ นพชัย ชาญศิลป์ นักวิจัยปรับปรุงพันธุ์ ผสมพันธุ์บัว แชมป์บัวสวยที่สุดในโลก มากกว่า 10 สายพันธุ์  ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบัวราชมงคลตะวันออก และ ระดับโลก การนำเสนอผลงาน  อภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์  การแสดงนิทรรศการ และกิจกรรมสังสรรค์ พบปะ คนรักบัว

การจัดงานครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อหลายภาคส่วน ได้แก่ ด้านวิชาการ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมและสัมมนาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับบัว และการแก้ไขปัญหาการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เกี่ยวกับบัวเพิ่มมากขึ้น ด้านความร่วมมือ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ผู้สนใจบัว จะมีความร่วมมือทางด้านบัวกันมากขึ้น ด้านการตลาด  การทำให้บัวเป็นพืชที่มีศักยภาพ ความต้องการด้านตลาดสูงขึ้น ด้านการท่องเที่ยว บัวจะได้รับความสนใจและใช้ปลูกเชิญชวน   ให้คนสนใจท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น และด้านประชาสัมพันธ์เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก และสถาบันบัวราชมงคลตะวันออก เพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน มีบัวลูกผสมที่เกิดขึ้นใหม่ในประเทศไทย จำนวนมากและหลายสายพันธุ์มีลักษณะดีเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ แต่บัวลูกผสมส่วนใหญ่ที่มีลักษณะดี มักจะขยายพันธุ์ทางธรรมชาติค่อนข้างยากและไม่ค่อยแตกหน่อ โอกาสที่จะได้ต้นจำนวนครั้งละมาก ๆ จึงค่อนข้างใช้เวลานาน ส่งผลต่อปริมาณที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาขยายพันธุ์พืช  ทำให้ได้ต้นกล้าปลอดโรค คุณภาพดี และคงเอกลักษณ์ของสายพันธุ์เดิมไว้ จึงสามารถส่งออกได้โดยไม่ต้องกังวลปัญหาเรื่องโรคและแมลง 

ทางคณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวประดับ ด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้านปริมาณการผลิตต้นพันธุ์ การขยายพันธุ์เชิงการค้า ตลอดจนงานปรับปรุงพันธุ์บัวประดับเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปในอนาคต อีกทั้งได้มีการศึกษาพัฒนาออกแบบระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราว ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวประดับสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนับว่ามีความสะดวก     ในการปฏิบัติงาน เพิ่มมาตรฐานในการควบคุม-รายงานผลด้วยระบบโปรแกรมและเพื่อเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์สำคัญของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมซึ่งประเทศกำลังก้าวสู่โมเดลประเทศไทย 4.0หรือ ไทยแลนด์ 4.0โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้อง ในกลุ่มเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเป้าหมายต่อไป









ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ