กสท โทรคมนาคม รับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 สร้าง ดิจิทัล พาร์ค
ไทยแลนด์ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี นโยบาลประเทศไทย 4.0 และนโยบาลเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
วันนี้
( 25 ก.ย.) นายวงกต วิจักรขณ์สังสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม
จำกัด มหาชน ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1
โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (ดิจิทัล พาร์ค ไทยแลนด์)
เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี นโยบายประเทศไทย 4.0 และนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
ให้กับประชาชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้รับทราบการดำเนินงาน
รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นถึงผลได้ผลเสียของการเกิดโครงการนี้ให้กับประชาชนได้รับทราบข้อมูลในการดำเนินงาน
โดยมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
และมีการเสนอความคิดเห็นให้กับผู้ดำเนินโครงการได้รับทราบปัญหาอีกด้วย ที่ห้องประชุมเมืองท่า เทศบาลนครแหลมฉบัง
จังหวัดชลบุรี
โดยนายวงกต
วิจักรขณ์สังสิทธิ์ เปิดเผยว่า โครงการดิจิทัล พาร์ค ไทยแลนด์
เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ( EEC ) ในการสร้างประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ
จึงส่งเสริมด้านการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน
และผลักดันการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล จึงอนุมัติจัดตั้งโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
(ดิจิทัล พาร์ค ไทยแลนด์) ที่บนพื้นที่กว่า 700 ไร่ บริเวณพื้นที่ในสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ตำบลทุ่งศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศูนย์การลงทุนและการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมสำคัญของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไอทีซีเดิมของประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่
เป็นศูนย์กลางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ที่สำคัญของประเทศ ให้แข่งขันกับนานาประเทศได้
และจะเป็นเมืองต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ
อันเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะสำหรับพื้นที่อื่น ๆ
ด้านนายกิตติวุฒิ
ศศิวิมลพันธุ์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า โครงการดิจิทัล พาร์ค ไทยแลนด์
เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นยุคดิจิทัลในประเทศไทย แต่การทำแค่โครงสร้างยังไม่พอ
ต้องเตรียมบุคลากรขึ้นมาด้วย ต้องเตรียมให้การศึกษาตั้งแต่ระดับประถม
ระดับมัธยมขึ้นมา เพราะต่อไปดิจิทัลจะเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์เราจะขาดไม่ได้
โครงการนี้ยังมองเพียงว่าเราจะได้อะไรจากโครงการนี้มากไป เราเตรียมสถานที่
เตรียมความพร้อมทุกอย่างมาให้ แต่ปริมาณของผู้ที่จะมาลงทุนยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นชัดเจน
การสร้างการตลาดยังไงให้รองรับดิจิทัลพาร์ค ก็ยังไม่แน่ชัด
“ที่ผ่านมาในโซนของสถานที่ก่อสร้างดิจิทัลพาร์ค
เป็นศูนย์โทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
แต่ยังไม่ทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากนัก ยกตัวอย่างไฟเบอร์ออฟติคก็ยังไม่กระจายเข้าไปสู่ชุมชนรอบข้าง
มีแต่โครงสร้างใหญ่แต่โครงสร้างย่อยยังไม่มี ซึ่งจุด ดิจิทัล พาร์ค จะต้องเป็นสมาร์ท
ซิตี้ ที่ทันสมัย ที่รัฐบาลบอกเป็นสมาร์ท ซิตี้ 6 อย่าง ก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นใน
การเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต ส่วนทางด้านกายภาพทางด้านโลจิสติกส์ เช่นสถานีรถไฟความเร็วสูง ที่สถานีศรีราชา
ก็ยังไม่มีสิ่งใดมารองรับ ถนนยังเป็นสองเลนวิ่งสวนกันอยู่เลย” นายกิติวุฒิ กล่าว
ความคิดเห็น
/