ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ขยายลมปราณระบบขนส่งของประเทศ ด้วยการเปิดศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ
ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากถนนมาเป็นทางราง เป็นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศ
ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น
วันนี้ ( 25 ต.ค. ) นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
เป็นประธานในพิธีเปิดดำเนินการโครงการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ
ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยมี ร้อยตำรวจตรี มนตรี ฤกษ์จำเนียร
ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง รักษาการแทน ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นผู้กล่าวต้อนรับในพิธีฯ พร้อมด้วย เรือโท
ยุทธนา โมกขาว รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว
ณ ศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ
โครงการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ
เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรี.ได้ลงมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558
ในหลักการให้กระทรวงคมนาคม (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)
ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง
ที่มีการดำเนินการบนพื้นที่ 600 ไร่ อยู่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด.B.และชุด.C.ที่มีพื้นที่กองเก็บตู้สินค้าได้มากถึง
28,000.TEU และลักษณะของ Rail Yard มีการติดตั้งรางรถไฟ ที่มีลักษณะเป็นพวงราง
จำนวน.6.ราง.ทำให้สามารถจอดขบวนรถไฟได้รางละ.4.ขบวน.รวมเป็น.8.ขบวนและมีการติดตั้งเครื่องมือยกขนตู้สินค้าชนิดเดินบนราง
ที่ทำงานคร่อมรางรถไฟได้ทั้ง 6 รางในเวลาเดียวกัน
สำหรับโครงการนี้
มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น รวมถึง
การติดตั้งเครื่องมือยกขนตู้สินค้าขึ้นลงรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับ
และเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
จากสถานีรถไฟแหลมฉบังเข้าสู่พื้นที่โครงการ ระยะทางประมาณ 4.3 กิโลเมตร
และมีเป้าหมายแผนการลงทุนในโครงการ เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1
เพื่อรองรับตู้สินค้าได้ถึง 1 ล้าน TEU ต่อปีและระยะที่ 2
สามารถรองรับตู้สินค้าได้ถึง 2 ล้าน TEU.ต่อปี
และเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ
ด้วยระบบรางได้ถึง 25% ในอนาคต อีกด้วย
อีกทั้งโครงการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟเป็นโครงการที่ได้รับนโยบายจากรัฐบาลที่ต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง.(Shift.Mode)
จากถนนมาเป็นทางราง
เพื่อเป็นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศ ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น
รวมทั้ง ลดปัญหาการจราจรที่แออัด และเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์
ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ
มีความสะดวกรวดเร็ว อีกด้วย
ความคิดเห็น
/