ประชุมสภาเทศบาลเมืองศรีราชา
เสนอ 4 ญัติ ยกมือผ่าน
บ้านศรีฯเปิดรับมัธยมปลายและจัดการขยะอันตรายชุมชน
ส่วนเรื่องกำหนดค่าตอบแทนการตรวจแบบเปลนก่อสร้างและMOU กำจัดขยะแปรสภาพเป็นเชื่อเพลิง RDF ตก “รองกบ”เผย สภาอนุมัติงบเกี่ยวกับขยะมา 1 แสน ทำไรไม่ได้
วันที่ (13 พ.ย.) นายวีรชัย ขจรชัยกุล รองประธานสภา ได้เป็นประธานสภาแทน นายฉัตรชัย
ทิมกระจ่าง ประธานสภาเทศบาลเมืองศรีราชา ที่ไม่ได้มาร่วมการประชุมสภาในวันนี้
โดยมี นายธานี รัตนานนท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีราชา และผู้บริหาร
สมาชิกเข้าร่วม รวม 14 คน ซึ่งมีการเสนอญัติ ให้สภาพิจารณาจำนวน 4
ญัติ ซึ่งสรุปว่า ผ่านการพิจารณา 2 เรื่องได้แก่ การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2562
ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา
และเห็นชอบลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการขยะอันตรายชุมชน
ผ่านการพิจารณา ส่วนการกำหนดค่าตอบแทนการตรวจแบบแปลนการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
กับเรื่องข้อตกลงความร่วมมือในการกำจัดขยะมูลฝอย
เพื่อดำเนินการโครงการกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีการแปรสภาพเชื้อเพลิง (RDF)และนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าหรือพลังงานทดแทนที่ไม่ใช่ระบบเตาเผาขยะ
ไม่ผ่านการพิจารณา
นายธานี รัตนานนท์
นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา
กล่าวว่า จังหวัดชลบุรี
มีขยะเป็นจำนวนมาก ซึ่งกำลังจะสร้างปัญหาในหลายพื้นที่ ดังนั้น นายภัครธรณ์
เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ได้มีแนวทางในการกำจัดขยะมูลฝอย
ตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย โดยกำหนดแบ่งพื้นที่ในการบริหารจัดการเป็น 4 กลุ่ม และ 1 อำเภอเกาะสีชัง
โดยกลุ่มที่ 1 อำเภอศรีราชา เป็นผู้รับผิดชอบ กลุ่ม 2 เมืองพัทยา กลุ่ม 3 อำเภอเมืองชลบุรี
กลุ่ม 4 เทศบาลบ้านบึง และเทศบาลตำบลเกาะสีชัง
โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละกลุ่มมีปริมาณขยะวันละกว่า 500 ตัน ซึ่งปริมาณขยะดังกล่าวสามารถแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิง( RDF) และนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน ซึ่งเป็นแนวทางในการกำจัดขยะ
และได้พลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้ประโยชน์ได้
นายธานี
กล่าวต่อไปว่า สำหรับอำเภอศรีราชา เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ 1 ในการกำจัดขยะ โดยใช้พื้นที่จำนวน 114 ไร่ ในเขตต.หนองขาม ใกล้ถนนมอเตอร์เวย์ สาย 7 รองรับขยะจาก 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกอบด้วย เทศบาลนครแหลมฉบัง ,เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ,เทศบาลตำบลบางพระ ,เทศบาลเมืองศรีราชา ,องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม
,องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง
และองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน
โดยเมื่อเร็วๆนี้ มีการประชุมสภาเทศบาลเมืองศรีราชา
เพื่อขอความเห็นชอบข้อตกลงความร่วมมือในการกำจัดขยะมูลฝอย (MOU) เพื่อดำเนินโครงการกำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิง (RDF)
และนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าหรือหรือพลังงานทดแทนที่ไม่ใช่ระบบเตาเผาขยะ
ซึ่งเรื่องนี้นายคมสัน ชาญชัยวรวิทย์
สมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีราชา
กล่าวว่าโครงการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยโดยวิธีแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิง( RDF)
โดยใช้พื้นที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยศรีราชา
เป็นครัสเตอร์กลุ่ม 1 ที่รวมขยะจาก 7 หน่วยงาน ซึ่งขณะนี้มีเทศบาลนครแหลมฉบัง และ
เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ได้นำเรื่องเข้าสู่การประชุมสภาเทศบาลฯแล้ว โดยทั้ง 2 เทศบาลฯมีมติไม่เห็นชอบเข้าร่วมโครงการดังกล่าว
ส่วนสภาเทศบาลเมืองศรีราชา ก็มีมติไม่เข้าร่วมโครงการเช่นกัน
ที่ผ่านมามีการประชุมและสอบถามความคิดเห็นของประชาชน
ในพื้นที่ ต.หนองขาม เขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่
โดยประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบที่จะให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้น
เพราะจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ดังนั้นจึงต้องการให้ทบทวนหรือย้ายสถานที่ เนื่องจากประชาชนไม่เห็นด้วยแล้ว
แต่ยังจะดำเนินการต่ออาจจะมีปัญหาแน่นอน
ด้านนายปรีชา เรืองอร่าม รองนายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา
ฝ่ายโยธาธิการ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นนโยบายของรัฐบาล
และกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งยังเป็นวาระแห่งชาติ
ที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้น จนอาจกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
โดยพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะเทศบาลเมืองศรีราชา
ถูกคัดเลือกให้เป็นคลัสเตอร์ จาก เทศบาลนครแหลมฉบัง ,เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ,เทศบาลตำบลบางพระ ,เทศบาลเมืองศรีราชา ,องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม
,องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง
และองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน
โดยสภาเทศบาลฯแห่งไหนจะอนุมัติหรือคัดค้าน
ไม่เกี่ยวกับเทศบาลเมืองศรีราชาทั้งสิ้น
โดยเทศบาลฯเป็นเพียงเจ้าภาพ(คลัสเตอร์)เท่านั้น
นายปรีชา
กล่าวต่อไปว่า
ขณะนี้ทางฝ่ายบริหารเทศบาลเมืองศรีราชา ได้ปฎิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าฯ
และกระทรวงมหาดไทยแล้ว โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาลฯ
และหลังจากนี้จะรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับทราบ เพื่อดำเนินการอย่างไรต่อไป
เพราะมีหลายอีกขั้นตอนในการดำเนินการ
ที่ผ่านมา
มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาดูพื้นที่ดังกล่าวแล้ว เช่น ไฟฟ้า ,ประปา ,สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด ,โยธาธิการจังหวัด ,ทรัพยากรจังหวัด
ซึ่งเห็นชอบแล้วว่าพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะเทศบาลเมืองศรีราชา เหมาะสมที่สุด ดังนั้นหลังจากนี้ขึ้นอยู่กับจังหวัด
จะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
ทางด้านที่มีการนำรูปภาพการจัดการขยะในศูนย์กำจัดขยะเทศบาลเมืองศรีราชามากล่าวหาว่าสภาพของศูนย์ไม่เหมาะสม
ไม่เป็นระเบียบ มีสุนัขจรจัดนั้นขอยอมรับว่าเป็นความจริง เนื่องจากฝ่ายบริหารของบบริหารจัดการขยะในสภาแห่งนี้ทุกครั้ง
ทุกปี ปีที่ผ่านมาได้งบบริหารการจัดการ 1 แสนบาท
สมัยนายกฯที่ผ่านมาได้งบ 5 ล้านบาท
การบริหารจัดการขยะจึงทำไม่ได้ รวมทั้งชี้แจงในเรื่องอื่น ๆ อีกด้วย
ความคิดเห็น
/