เมื่อเวลา 10.00
น.ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายสุริยา แสงพงค์
รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ฯ นายอรรถพร ศรีเหรัญ
ผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว น.สพ.รศ.ดร.นิกร
ทองทิพย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้แทนสถาบันคชบาลแห่งชาติ
ร่วมกันแถลงข่าวถึงความสำเร็จการผสมเทียมช้างไทยตัวที่ 2
ของประเทศไทย
โดยนายสุริยา แสงพงค์
รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ กล่าวว่า องค์การสวนสัตว์
ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการอนุรักษ์และวิจัย
จึงเล็งเห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ช้าง โดยความร่วมมือระหว่าง องค์การสวนสัตว์
โดย สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, ศูนย์นวัตกรรมทางการสืบพันธุ์สัตว์ป่า
สำนักอนุรักษ์และวิจัย ร่วมกับ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ภายใต้การดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่อง“ปัจจัยที่มีผลต่อวงรอบการสืบพันธุ์และการพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำเชื้อช้างเพื่อการผสมเทียม”
โดยงบประมาณส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(วช.) และอีกส่วนหนึ่งได้จากงบประมาณขององค์การสวนสัตว์ ที่ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี
2559 จนกระทั่งประสบความสำเร็จในช่วงปลายปี 2561
ที่ผ่านมา สามารถผสมเทียมช้าง
จนได้ลูกช้าง เพศเมีย 1
เชือก เกิดจากช้างเพศเมีย ชื่อ “จิ๋ม” ซึ่งได้ตกลูกช้างในวันที่
8 ตุลาคม 2561
เวลา 19.50 น. น้ำหนัก 128
กิโลกรัม มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงทั้งแม่และลูก
มีระยะการตั้งท้อง 21 เดือน 12
วัน และ ได้รับการบันทึกว่าเป็นลูกช้างที่เกิดจากการผสมเทียมที่มีชีวิตรอด
เป็นเชือกที่ 2 ของประเทศไทย โดยความร่วมมือจาก ทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ องค์การสวนสัตว์ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ภายใต้การดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ปัจจุบัน ลูกช้างมีอายุ 3
เดือน 16 วัน มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง นิสัยร่าเริง
และซุกซน
สำหรับการร่วมดำเนินงานโครงการวิจัยดังกล่าว
ทีมงานวิจัยขององค์การสวนสัตว์ (สวนสัตว์เปิดเขาเขียวและสำนักอนุรักษ์และวิจัย) ได้ร่วมกันทำการทดสอบการผสมเทียมในช้างเพศเมีย
จำนวน 4 เชือก คือ พังจิ๋ม จากสวนสัตว์ดุสิต,
พังจิ๋ม เขาเขียว
พังจันทร์เพ็ญ และ พังกอบทอง จากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว โดยเริ่มกันตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559 (ระหว่างวันที่
26-28 ธันวาคม 2559) คณะวิจัยได้ทำการตรวจประเมินระดับฮอร์โมน
พบว่า มีช่วงการตกไข่ในวันดังกล่าว จึงทำการเก็บน้ำเชื้อช้างเอเชีย เพศผู้ ชื่อ “พลายบิลลี่”
เพื่อผสมเทียมกับช้างเอเชียเพศเมีย ชื่อ “พังจิ๋ม”
จากสวนสัตว์เปิดเขียว 3 วันติดต่อกัน (วันก่อนตกไข่
วันที่ตกไข่ และหลังการตกไข่ 1 วัน)
และผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งและน้ำเชื้อ
แช่เย็น โดยการใช้กล้องเอนโดสโคป (endoscope) ขนาดความยาว
1.3 เมตร สอดผ่านทางช่องคลอด
และน้ำเชื้อใช้กระบอกฉีดยา ขนาด 50 มิลิลิตร
เป็นตัวฉีดน้ำเชื้อเข้าท่อผสมเทียมชนิดพิเศษที่สอดผ่าน working channel ของกล้องเอนโดสโคป
ปล่อยบริเวณช่องเปิดคอมดลูก (cervix) จนนำมาสู่ความสำเร็จ
ที่น่าภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 038-318444
ความคิดเห็น
/