โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่
สายชุมทางศรีราชา –ระยอง
มีเส้นทางศึกษา 4 เส้นทาง
ส่งเสริมการขนส่งภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก หน่วยงานรัฐไม่คัดค้านในที่ประชุมเล็ก แต่ขอให้สร้างเส้นทางรถยนต์คู่ขนานทั้งสองฝั่งควบคู่ไปกับเส้นทางรถไฟและให้สร้างสะพานคนข้ามและรถจักรยานยนต์บริเวณแหล่งชุมชน
พบแนวเส้นทางผ่านชุมชนมีเวนคืนที่ดินด้วย
วันนี้ ( 6 มิ.ย. ) นายสายชล เชาว์ไทย รองนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดการประชุมย่อยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(EEC)
ในการพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไร้รอยต่อ
โดยมีเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทที่ปรึกษา มานำเสนอโครงการให้กับผู้นำท้องถิ่น
ผู้นำชุมชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นนี้
ที่ห้องประชุมชั้น 4 เทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่
สายชุมทางศรีราชา –ระยอง และมาบตาพุด ระยอง จันทบุรี ตราด
และคลองใหญ่ เป็นทางรถไฟสายใหม่เพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ
เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางและเครือข่ายโลจิสติกส์
ส่งเสริมการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ
ประหยัดต้นทุนการขนส่งของประเทศในภาพรวม สอดรับกับการพัฒนา EEC ในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว
ซึ่งจุดเริ่มต้นโครงการที่สถานีชุมทางศรีราชา
หรือบริเวณย่านสถานีบางละมุง ไปถึงจังหวัดระยอง โดยมีเส้นทางการศึกษาไว้ 4 เส้นทางซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางได้เล็กน้อย
ซึ่งจะทำการกำหนดเส้นทางในเดือนกรกฎาคม สำหรับเส้นทางที่กำหนดทั้ง 4 เส้นทางที่จะต้องมีการเวนคืนที่ดินขนาดกว้างประมาณ 50 เมตรด้วยได้แก่
เส้นทางที่ 1 เริ่มจากชุมทางศรีราชาประมาณ 1.8 กิโลเมตร เลี้ยวขึ้นไปทางทิศเหนือของวัดบ่อหินห่างจากวัดประมาณ
300 เมตร เริ่มทางยกระดับบริเวณจุดที่ตัดหมู่บ้านแกรนมณีรินทร์ศรีราชา
ก่อนตัดห่างโรงเรียนวัดหนองขามทางด้านทิศเหนือประมาณ 50 เมตร แล้วตัดข้าสาย 7 บริเวณด่านเก็บเงินหนองขามบริเวณร้านโบว์ทิพย์ของฝาก
ก่อนข้ามไปตัดพื้นที่บริเวณลานจอดรถเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ข้ามถนนสาย 331
(อินโดจีน)มีสถานีอยู่บริเวณคลองใหญ่ ผ่านดอนนุ่น
ผ่านคลองหนองปรือ ผ่านใกล้สุสานสิงโตคู่ ผ่านนิคมอุตสาหกรรม WHA ทางทิศเหนือ ก่อนตัดทางหลวง 331 พนมสารคามบริเวณทางเข้านิคมโรจนะบ่อวิน
จ.ชลบุรี ตัดทางด้านทิศเหนือของบ้านพันเสด็จใน
ห่างจากโรงเรียนบ้านพันเสด็จในทางทิศเหนือประมาณ 900 เมตร จนเข้าสู่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
เส้นทางที่ 2 จากชุมทางศรีราชาประมาณ 1.8 กิโลเมตร
เลี้ยวขึ้นไปทางทิศเหนือของวัดบ่อหินห่างจากวัดประมาณ 300 เมตร
เริ่มทางยกระดับบริเวณจุดที่ตัดหมู่บ้านแกรนมณีรินทร์ศรีราชา
ก่อนตัดห่างโรงเรียนวัดหนองขามทางด้านทิศเหนือประมาณ 50 เมตร แล้วตัดข้าสาย 7
บริเวณด่านเก็บเงินหนองขามบริเวณร้านโบว์ทิพย์ของฝาก
ก่อนข้ามไปตัดพื้นที่บริเวณลานจอดรถเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ข้ามถนนสาย 331
(อินโดจีน)ตัดลงมาทางทิศใต้มาทางหนองปรือ มาทางโรงเรียนบ้านวังค้อ ผ่านคลองบึง ผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบึง
ผ่านคลองกระบก ผ่านสุสานตระกูลสัตยะเทวา ผ่านทางด้านทิศใต้ของวัดเนินกระบกทางทิศใต้ประมาณ
160 เมตร ตัดผ่านทางด้านทิศเหนือของสนามบูรพากอล์ฟ
คลับ ผ่านหมู่บ้านพนาวัลย์เพลส ผ่านหมู่บ้านสิลันตา ไลฟ์ 4 ผ่านทางทิศเหนือของอนามัยตำบลบ่อวิน ก่อนมาตัดเส้น 331 บริเวณอีซูซุตะวันออกชลบุรี สาขาบ่อวิน ทางทิศเหนือ ตัดเข้าชุมชนสะพานสี่
ตลาดสะพานสี่พลาซ่า ผ่านฝั่งตรงข้ามวัดมาบยางพร เข้าสู่จังหวัดระยอง
เส้นทางที่ 3 เริ่มจากชุมทางศรีราชาไปตามเส้นรถไฟสายเก่าไปตัดออกก่อนถึงสถานีชุมทางบางละมุง
แล้วไปเชื่อมต่อกับแนวที่สองบริเวณสนามกอล์ฟบูรพา ผ่านหมู่บ้านพนาวัลย์เพลส ผ่านหมู่บ้านสิลันตา ไลฟ์ 4
ผ่านทางทิศเหนือของอนามัยตำบลบ่อวิน ก่อนมาตัดเส้น 331 บริเวณอีซูซุตะวันออกชลบุรี
สาขาบ่อวิน ทางทิศเหนือ ตัดเข้าชุมชนสะพานสี่ ตลาดสะพานสี่พลาซ่า
ผ่านฝั่งตรงข้ามวัดมาบยางพร เข้าสู่จังหวัดระยอง
เส้นทางที่ 4 เริ่มจากชุมทางศรีราชาไปตามเส้นรถไฟสายเก่าไปตัดออกก่อนถึงสถานีชุมทางบางละมุง
ตัดมาทางตะเคียนเตี้ย ผ่านทิศใต้นิคมโรจนะ ข้ามสาย 7 ผ่านบ้านลินดา ผ่านสำนักสงฆ์เมืองจันทร์สุดา ผ่านทางทิศใต้สนามกอล์ฟแหลมฉบัง
คันทรี่คลับ ผ่านไปทางทิศเหนือของวัดเขาโป่งสะเก็ดพุฒาจารย์ ผ่านเส้น 331 พนมสารคามบริเวณหมู่บ้านชาญสโมสร จนทะลุไปจังหวัดระยอง ซึ่งเส้นทางทั้งหมดนี้เป็นเส้นทางการศึกษาถึงความเหมาะสมสามารถขยับไปซ้ายไปขวาได้
ทางด้านผู้เข้าร่วมประชุมต่างเห็นด้วยกับโครงการของรัฐที่จะพัฒนาความเจริญให้กับพื้นที่นี้
แต่ขอแนะนำข้อเสนอแนะคร่าว ๆ
ว่าอยากให้การรถไฟทำเส้นทางรถยนต์คู่ขนานทั้งสองฝั่งเส้นทางรถไฟควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการระบายน้ำ น้ำท่วม กับชาวบ้านที่อยู่ริมทางรถไฟ
เนื่องจากไม่มีท่อระบายน้ำ เส้นทางรถไฟอาจไปขวางทางน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมได้
รวมทั้งอยากให้สอบถามความเห็นของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในการก่อสร้างครั้งนี้อย่างใกล้ชิด
เพราะโครงการนี้ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่
แต่เป็นภาคอุตสาหกรรม และอยากให้จัดประชุม
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ
เช่นในวันนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นประชาชนในเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
แต่กลับมาจัดที่เทศบาลนครแหลมฉบังซึ่งแทบจะไม่ได้รับผลกระทบใดใดเลย
ความคิดเห็น
/