saostar

Banner โฆษณา

ไม่โดนเวนคืน ชาวศรีราชาดีใจ การรถไฟเลือกเส้นที่ 4

ชาวศรีราชาสุดดีใจ หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย ยกเลิก 3 เส้นทางที่ทำการศึกษาในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง หลังพบมีการเวนคืนที่ดินกระทบชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ล่าสุดเลือกเส้นทางที่ 4 โดยไม่ผ่านชุมชน

วันนี้( 2 ก.ค.)  นายอาคม  พันธ์เฉลิมชัย  นายกเทศมนตรีนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เป็นประธานประชุมรับฟัง โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่  หลังชาวบ้านในพื้นที่ ต.สรุศักดิ์ ,ต.หนองขาม ,ต.บ่อวิน  ในอำเภอศรีราชา เกิดความวิตกกังวลกับเส้นทางดังกล่าว โดยหวั่นจะถูกเวนคืนที่ดิน เพื่อใช้ในการก่อสร้างเส้นทาง โดยเชิญนายปัฐตพงษ์  บุญแก้ว  วิศวกรการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมทีมงาน มาชี้แจงให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงเส้นทางและแนวทางที่จะเกิดขึ้น  โดยมีข้าราชการ ,ชาวบ้าน และผู้นำท้องถิ่น กว่า 500 คน มาร่วมรับฟังในครั้งนี้ ที่ห้องประชุมเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์  อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

นายปัฐตพงษ์  บุญแก้ว  วิศวกรการรถไฟแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่  ได้ทำการศึกษาทั้งสิ้น  4 เส้นทางเพื่อความเหมาะสมที่สุด ทำให้ชาวบ้านี่เกี่ยวข้องกับเส้นทางทั้ง 4 เส้นทางเกิดหวั่นวิตก การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงต้องลงมาชี้แจงและเพื่อยืนยันความชัดเจนในเส้นทางที่จะเกิดขึ้น พบว่า เส้นทาง AB1-ABและ AB3 นั้น จะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง , มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อประชาชน  โดยจะมีผลกระทบมากกว่า เส้นทาง AB4 ดังนั้น เส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในขณะนี้  คือ เส้นทาง AB4  ซึ่งจะมีการเวนคืนน้อยที่สุด ทำให้ชาวบ้านที่วิตกกังวลในขณะนี้พอใจเป็นอย่างมาก และกลับบ้านกันไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข

สำหรับเส้นทาง AB4 นั้น จะเริ่มต้นที่สถานีศรีราชา ซึ่งใช้เส้นทางเดิมไปจนถึงสถานีบางละมุง โดยไม่มีการเวนคืนที่ดิน และเมื่อใกล้ถึงเส้นทางบางละมุงจะมีทางแยกออกมาทางทิศตะวันออก โดยจะตัดผ่านไปทางทิศใต้บริเวณห่างจากหมู่บ้านแมกไม้แหลมฉบัง 2 พอสมควร พร้อมผ่านถนนสายห้วยกู และผ่านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง

จากนั้นจะข้ามถนนมอเตอร์เวย์ มาตัดกับถนนสายนาวัง ตัดเข้ามาที่บริเวณภูเขาไม้แก้ว ใกล้สำนักสงฆ์เมืองจันทร์สุดาด้านทิศใต้ พร้อมมาตัดข้ามถนนทางหลวงสายสัตหีบ-พนมสารคาม ใกล้หมู่บ้านชาญสมอน ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง โดยเส้นทางจะเลียบนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง มาทางทิศใต้ ผ่านหมู่บ้านลีโอ เรนซิเด้นซ์  จากนั้นจะข้ามมาที่ตำบลเขาไม้แก้ว และเข้าสู่เขตพื้นที่อำเภอนิคมพัฒนา จ.ระยอง บริเวณวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย

จากนั้นจะวกลงมาทางด้านทิศใต้ ผ่านบริษัทจิลสตีล  สถานีไฟฟ้าแรงสูงบ้านค่าย และตัดผ่านใกล้วัดหนองสะพาน เข้าสู่ตัวเมืองระยอง ทางด้านทิศเหนือด้านวัดน้ำคอก(เก่า) โดยเส้นทางทั้งหมดระยาว 64 กิโลเมตรแต่ถ้าร่วมเส้นทางรถไฟเดิม จะยาวทั้งสิ้น 74 กิโลเมตร

นายปัฐตพงษ์   กล่าวอีกว่าหลังจากนี้ เมื่อศึกษาความเหมาะสม และยืนยันเส้นทางที่ชัดเจนแล้ว จึงจะต้องเสนอของบจากกระทรวงคมนาคม เพื่อออกแบบรายละเอียดเส้นทางที่เลือกไว้ โดยใช้ระยะเวลาในการออกแบบประมาณ  8 เดือนถึง 1 ปี จากนั้นก็จะต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA.) และด้านการเวนคืน พร้อมนำเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ  7-8 ปี  ถึงจะเห็นเป็นรูปธรรม






ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ