รมว.กระทรวงเกษตรฯ
ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ภาคตะวันออก
ชี้น้ำความมั่นคงของชาติหัวใจของพื้นที่ EEC ขอความร่วมมือทุกฝ่ายบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าฤดูกาลใด
ไทยต้องไม่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำ
วันนี้ (2ก.พ.)
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะ
ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก โดยมี
นายสุชาติ เจริญศรี รองอธิบดีกรมชลประทาน
นายสุริยพล นุชอนงค์
ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 9 ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำ
ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่9 จังหวัดชลบุรี
นายสุริยพล
นุชอนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่
9 กล่าวรายงานถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกว่าในปัจจุบัน ข้อมูล ณ.วันที่
31 ม.ค. อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 7 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกัน 592 ล้าน ลบ.ม.
หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของ ความจุอ่างรวมกัน อ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 55 แห่ง
มีปริมาณน้ำรวมกัน 498 ล้าน ลบ.ม.
หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างรวมกัน มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง ด้านการเกษตร
ในเขตภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา 3 อำเภอ 5 ตำบล 16 หมู่บ้าน
โดยกรมชลประทาน
ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการช่วยกันแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะเร่งด่วน
ทั้งบริษัท East Water และการประปาส่วนภูมิภาคได้สนับสนุนน้ำเข้ามาเสริมในระบบปริมาณกว่า
20 ล้าน ลบ.ม.
ด้านสถาบันน้ำและพลังงานเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ได้ร่วมประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากการนิคมอุตสาหกรรมลดการใช้น้ำลงร้อยละ 10
สำหรับในส่วนของกรมชลประทาน
ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำจากทุกอ่างเก็บน้ำ
โดยขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด
เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
และให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า
นอกจากนี้ กรมชลประทาน
ยังได้วางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะยาว
ด้วยการดำเนินโครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรีไปยังแหล่งกักเก็บน้ำจังหวัดระยอง
โดยการผันน้ำจากคลองวังโตนด จ.จันทบุรี ไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง
ผ่านท่อส่งน้ำระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 9 เครื่อง
อัตราการสูบ 5 ลบ.ม.ต่อวินาที ดำเนินการสูบผันน้ำเฉพาะช่วงฤดูฝน
โดยมีระยะเวลาการสูบน้ำ 5 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนตุลาคม
ปริมาณน้ำประมาณ 70 ล้าน ลบ.ม.
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เผยว่า ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้เน้นยำให้ทุกภาคส่วนบูรณางานร่วมกันบริหารจัดการน้ำที่ดี
มีแผนบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน เกษตรกร
และภาคอุตสาหกรรม ใช้น้ำอย่างมีคุณค่า เพื่อให้มีน้ำเพียงพออุปโภคบริโภคไปตลอดจนช่วงฤดูแล้งนี้
“อยากให้ทุกภาคในพื้นที่ภาคตะวันออก
มาร่วมกันคิด วางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างไรให้ เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
โดยที่ไม่ต้องมาคิดกันเพียงแค่ช่วงหน้าแล้ง และรอฝนเพียงอย่างเดียว
แต่เราจะทำอย่างไรให้สามารถเก็บกักน้ำ ในช่วงฤดูฝน ไว้ให้ซึ่งพียงพอ ซึ่งอาจจะต้องเพื่อแหล่งเก็บน้ำ
เพื่อให้เก็บน้ำไว้ใช้ตลอดฤดูกาล ไม่ว่าฝนจะทิ้งหรือหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาล
เราต้องมีน้ำใช้
สำหรับพื้นที่ภาคตะวัน หรือพื้นที่ EEC
น้ำถือเป็นเรื่องของความมั่นคง
ซึ่งความมั่นคงของชาติมีหลายเรื่อง สำหรับพื้นที่ในภาคตะวันออกหรือพื้นที่ EEC
หากขาดน้ำ นอกจากประชาชน และพื้นที่เกษตร
ที่จะเดือนร้อนแล้วโครงการทั้งหมดใน EEC จะเดินหน้าได้เอย่างไร
น้ำถือเป็นความมั่นคงของภูมิภาค ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า ไม่ใช่ปีเดี่ยว
แต่ต้องการวางแผนล่วงหน้า ให้ชัดเจนและรัดกุม เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและการพัฒนาประเทศ
ความคิดเห็น
/