เทศบาลเมืองศรีราชาร่วมกับบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด มหาชน ลงพื้นที่ติดตั้งแอปพลิเคชั่นและให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับอุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉินให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ สายด่วนห่วงใย เทศบาล ใส่ใจดูแลประชาชน ตามชุมชนต่าง ๆ ทั้ง 13 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา
ที่บริเวณชุมชนจุลินทร์และมิตร
เขตเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายฉัตรชัย ทิมกระจ่าง
นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล
ร่วมกับบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด มหาชน โดยนายธาณินทร์ สุวรรณกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด มหาชน
ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการสายด่วนห่วงใย เทศบาล
ใส่ใจดูแลประชาชนและวิธีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Smart Help และ การบันทึกข้อมูล
เบอร์ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินให้กับประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์บ้าน
รวมทั้งแนะนำวิธีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการสายด่วนห่วงใย
เทศบาลฯ ใส่ใจดูแลประชาชน มีทั้งสิ้นจำนวน
424 คน ใน 13 ชุมชนของพื้นที่เทศบาลเมืองศรีราชา
โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นช่องทางในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ทั้งด้านการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ
เหตุเดือดร้อนรำคาญ การติดต่อสื่อสาร ระหว่างประชาชนกับเทศบาลเมืองศรีราชา เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แก่
ผู้สูงวัยที่อยู่ลำพัง ผู้สูงวัยที่เจ็บป่วย ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส
ผู้มีความเสี่ยงที่อาจได้รับอุบัติเหตุจากโรคประจำตัว และประชาชนทั่วไป
ในเขตเทศบาลเมืองศรีราชาและเพื่อเป็นการยกระดับการบริการประชาชนของเทศบาลเมืองศรีราชาให้สามารถแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที
นายฉัตรชัย
ทิมกระจ่าง เปิดเผยว่า
โครงการนี้เทศบาลเมืองศรีราชาร่วมกับบริษัทโทรคมนาคม จัดบริการประชาชนในเขตเทศบาลฯ
ในการดูแลความปลอดภัยในทรัพย์สิน สุขภาพ เรื่องเดือดร้อนรำคาญ
ในการแจ้งให้เทศบาลฯได้ทราบเรื่องราวความเดือดร้อนและเหตุฉุกเฉิน
เพื่อเทศบาลฯจะได้ส่งทีมงานเข้าไปดูแล ช่วยเหลือ ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางด้านไอที
และแอปพลิเคชั่น เพื่อความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ในการให้บริการแก่ประชาชน
โดยได้สำรวจข้อมูลประชาชนที่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่อยู่บ้านเพียงลำพัง
ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 424 คน
ซึ่งในวันนี้ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้ และแนะนำโครงการเพื่อให้สามารถได้ใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องต่อไป
ด้านนายธาณินทร์ สุวรรณกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด มหาชน เปิดเผยว่า เครื่องมือนี้คือ เครื่อง SOS โฟนแพคกิ้ง เป็นเครื่องมือที่เป็นทั้งโทรศัพท์ กล้อง
และตัวติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ที่ใช้
โดยวิธีใช้เมื่อต้องการความช่วยเหลือเพียงกดปุ่มที่เครื่องประมาณ 10 วินาที เครื่องจะสั่น แล้วส่งสัญญาณไปที่ศูนย์รับแจ้งเหตุของเทศบาลฯ
รวมทั้งพิกัด GPS ที่เครื่องนี้อยู่ด้วย ทางเจ้าหน้าที่ก็จะสามารถเดินทางไปรับตัวผู้แจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง
รวดเร็ว ซึ่งจะสร้างความสะดวก สบาย ปลอดภัย และรวดเร็วในการส่งตัวไปรักษา
หรือแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ความคิดเห็น
/