สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดโครงการค่ายหุ่นยนต์รักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมค่ายเรือหุ่นยนต์เก็บขยะในทะเล เพื่อเพิ่มทักษะของนักเรียนในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ ให้เยาวชนเข้าใจเรื่องปัญหาของขยะ การคัดแยกขยะ ผลกระทบของขยะต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล
วันนี้ ( 5 ธันวาคม 2565) นายธวัชชัย ศรีทอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดโครงการค่ายหุ่นยนต์รักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมค่ายเรือหุ่นยนต์เก็บขยะในทะเล
โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ บันลือสินธุ์ กรรมการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ดร. บัลลังก์ เนื่องแสงผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล นายวิทยา คุณปลื้ม
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และนายณรงค์ชัย คุณปลื้ม
นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข ร่วมพิธีเปิด ณ
ศูนย์เรียนรู้โลกใต้ทะเลบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
จังหวัดชลบุรี รวมทั้งยังมีการมอบเงินสนับสนุนให้กับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น
8 โรงเรียน โรงเรียนละ 3,000 บาท
ด้วยจังหวัดชลบุรี
เป็นจังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ประสบกับปัญหาขยะขายฝั่งและในทะเล
รวมถึงของเสียจากครัวเรือน ภาคการเกษตร และอุตสาหกรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม
รวมถึงชายหาดบางแสน หาดวอนนภา ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วประเทศ
ส่งผลต่อปริมาณขยะมูลฝอยในแต่ละวันจากกิจกรรมบนฝั่งและจากกิจกรรมในทะเล
ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทางทะเล เช่น การใกล้สูญพันธุ์ของสัตว์ทะเล
โลมา วาฬ เต่าทะเล เป็นต้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวก
ลดเวลาในการทำงาน และช่วยในการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น การใช้หุ่นยนต์เก็บขยะทะเลเป็นอีกสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจของการประยุกต์ใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก
ลดปัญหาและอุปสรรคจากการเก็บขยะในบางพื้นที่
และขยะบางประเภทจัดเก็บด้วยแรงงานคนได้ยาก
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีโรงเรียนในจังหวัดชลบุรี
8 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะของนักเรียนในการประดิษฐ์หุ่นยนต์
ให้เยาวชนเข้าใจเรื่องปัญหาของขยะ การคัดแยกขยะ ผลกระทบของขยะต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล
รวมถึงการให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบ
STEM ROBOTICS ผ่านการประดิษฐ์หุ่นยนต์ซึ่งมีแนวคิดการประดิษฐ์ที่ต้องการแยกขยะที่มีรูปร่างแตกต่างกันออกจากกันได้
เช่น วัตถุทรงกลม ทรงเหลี่ยม รูปปลา เส้นเชือก เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุขนาดเล็กล่องลอยในทะเล
แล้วย่อยสลายเป็นอนุภาคขนาดไมครอน เข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร
และมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคสูงสุด ภายใต้การดูแลของอาจารย์
และนิสิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยโครงการดังกล่าว
ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่ก้าวไปพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสังคม
สนับสนุนความเจริญสู่ชุมชนในด้านต่าง ๆ ทั้งการใช้ชีวิตความเป็นอยู่
การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ความคิดเห็น
/