รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 42 /2566 ของสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิ แห่งประเทศไทย เผยนโยบายอดีตและอนาคตเพื่อผู้ใช้แรงงาน ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยผ่านวิกฤตโควิดมาได้ จนหลายประเทศใช้เป็นแบบอย่าง
วันนี้
( 19 กุมภาพันธ์ 2566) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 42 /2566
ของสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิ แห่งประเทศไทย โดยมี นายวัชรพงษ์ ศิริวัฒน์ ประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิ
แห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ
พร้อมด้วยทีมงานจากกระทรวงแรงงาน นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วย รมว.แรงงาน พล.ต.ต.กัมพล ลีลาประภาภรณ์
ผบก.ภ.จว.ชลบุรี นายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา
ร่วมให้การต้อนรับ โดยมีสมาชิกสภาพแรงงานมิตซูบิชิฯ เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน ที่ห้องแปซิฟิคฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าแปซิฟิคพาร์ค
ศรีราชา อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โดยใช้ช่วงเปิดงาน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เปิดเผยในที่ประชุมว่า ในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิดที่ผ่านมา
ประเทศไทยสามารถเอาชนะคู่แข่งทางด้านการส่งออกทั่วโลกนี้ไปได้ เนื่องจากประเทศไทยไม่ประกาศหยุดกิจการ ยกตัวอย่างโรงงานที่สมุทรปราการปิด
ถ้ารัฐประกาศให้ผู้ที่ติดโควิดหยุดงาน จะมีแรงงานนอนอยู่บ้าน 14-21 วันถึงกว่า 2,000 คน
เงินที่จ่ายจากกระทรวงแรงงาน 60-70% คงไม่พอใช้
จะทำให้ออเดอร์การส่งออกต้องถูกยกเลิก หรือไปสั่งสินค้าประเทศเพื่อนบ้านแทน
จะทำให้ส่งผลกระทบต่อแรงงานหลังจากนั้น ที่ไม่มีออเดอร์ แรงงานจะไม่ได้โบนัส
อุตสาหกรรมส่งออกจะไม่เติบโต ในช่วงนั้นจึงคิดโครงการแฟคตอรี่ แซนด์บ็อกซ์
ขึ้นมาโดยร่วมมือกับ 3 กระทรวง ได้แก่ แรงงาน สาธารณสุข
และมหาดไทย
ห้ามปิดโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ ในส่วนของคู่แข่งต่างประเทศยังใช้ระบบแบบเจอผู้ป่วยแล้วให้หยุดงาน
ปิดโรงงาน จึงทำให้การส่งออกของไทยยังดีกว่าประเทศคู่แข่งอื่น ๆ รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับเงินประกันสังคม
นโยบายต่าง ๆ ที่ได้มอบนโยบายไว้ให้กับผู้ใช้แรงงานให้มีสวัสดิการที่ดีขึ้น
หลังจากนั้น
สหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิ แห่งประเทศไทย ได้จัดประชุมใหญ่ในวาระต่าง ๆ
ของการประชุมในครั้งนี้ต่อไป ในเรื่องขอมติให้สภาภาพแรงงานเป็นผู้ดำเนินการแทนสมาชิกในการแจ้งข้อเรียกร้องการเจรจาเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ 2518 ต่อนายจ้าง
เรื่องขอมติให้สหภาพแรงงานดำเนินการอันอาจกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของสมาชิกเป็นส่วนรวม
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ 2518 มาตรา 103 (2) เรื่องขอมติจากที่ประชุมใหญ่ให้สัมภาษณ์แรงงานรถยนต์
มิตซูบิชิแห่งประเทศไทย มีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อนายจ้างได้โดยตรง หรือฟ้องคดีแทนสมาชิกของสหภาพแรงงานได้ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อสมาชิกของสหภาพแรงงาน
หรือเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือประเพณีปฏิบัติโดยไม่ได้มีการยื่นข้อเรียกร้องตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการสภาพการจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามประเพณีปฏิบัติ
รวมถึงเรื่องอื่นๆเป็นต้น
ความคิดเห็น
/