เทศบาลนครแหลมฉบัง จัดการประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนครแหลมฉบัง พร้อมทั้งมอบรายงานตั้งแหลมฉบังเป็นเมืองพิเศษของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหลังจบการเลือกตั้งไม่เกิน 6 เดือนต้องมีความคืบหน้า ความเหมาะสมครบ และการรับฟังคำแนะนำการจัดตั้งหน่วยบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของเทศบาลนครแหลมฉบัง
วันนี้ (5 เมษายน 2566) นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ ประธานที่ปรึกษา
คณะผู้บริหารเทศบาลนครแหลมฉบัง พร้อมด้วย นางจินดา ถนอมรอด
นายกฯเทศมนตรีนครแหลมฉบัง
เป็นประธานในการประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนครแหลมฉบัง โดยมี
รองศาตราจารย์ ดร.ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา
อดีตอนุกรรมาธิการคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการรูปแบบพิเศษและการกระจายอำนาจ ดร.ภูนท สลัดทุกข์ รองเลขาธิการสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารศูนย์ฟอกไตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พร้อมด้วยที่ปรึกษา ผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่เข้าร่วม
โดยในที่ประชุมได้มีการติดตามผลงานของโครงการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนของสมาชิกสภาเทศบาลนครแหลมฉบังทั้ง
4 เขต
ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นที่เรียบร้อยดี
การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดงานประเพณีสงกรานต์เทศบาลนครแหลมฉบัง
ศึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน 2566
ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา และที่สำคัญได้มีพิธีมอบรายงานตั้งแหลมฉบังเป็นเมืองพิเศษของสภาผู้แทนราษฎร
และการรับฟังคำแนะนำการจัดตั้งหน่วยบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของเทศบาลนครแหลมฉบังอีกด้วย
นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ ประธานที่ปรึกษา
คณะผู้บริหารเทศบาลนครแหลมฉบัง อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง กล่าวว่า “แต่เดิม
เทศบาลนครแหลมฉบังแห่งนี้ เป็นเทศบาลตำบลแหลมฉบัง
เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับโครงการอีสเทินร์ซีบอร์ด และ เทศบาลตำบลแหลมฉบังนี้
ขึ้นตรงต่อ กระทรวงมหาดไทย ปกติแล้วเทศบาลตำบลต่างๆเหล่านี้ ขึ้นตรงกับทางจังหวัด
แต่เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ขึ้นตรงกับ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งในปี 2535 ตนเองเป็นนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง ได้ทำเรื่องไปถึงกระทรวงมหาดไทย
เพื่อขอเป็นเมืองพิเศษ แต่ทางกระทรวงมหาดไทย ให้เป็น เทศบาลนครแหลมฉบัง
ซึ่งตนเองก็ไม่เอา ทำไมถึงไม่เอา ก็เพราะว่า โครงสร้างเดิมนั้น เทศบาลตำบลแหลมฉบัง
ถูกกำหนดให้ขึ้นตรงกับ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งก็ผิดแล้ว
ความจริงแล้วต้องขึ้นผ่านอำเภอ จังหวัด ไต่ระดับไปตามขั้นตอนแล้วถึงจะไปถึงกระทรวง
แต่โครงสร้างของเทศบาลตำบลแหลมฉบังนี้ เป็นโครงสร้างของเมืองพิเศษมาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว
และก็ดูแลพื้นที่อำเภอศรีราชาบางส่วน และก็อำเภอบางละมุงบางส่วน
เป็นลักษณะเหมือนเป็น เป็นโครงการรองรับอีสเทินร์ซีบอร์ด และต่อมาทาง
กระรวงมหาดไทยได้เชิญตนเองขึ้นไปพบและพูดคุย โดยทางกระทรวงมหาดไทย
ยอมให้ทางเทศบาลตำบลแหลมฉบัง เขยิบขึ้นไปเป็น เทศบาลนครแหลมฉบังเลย ข้ามขั้นไปเลย
ไม่ต้องเป็นเทศบาลเมือง ถือเป็นลักษณะเหมือนเมืองพิเศษ ตนเองเป็นคนที่มีเอกลักษณ์
ตนเองก็ตอบปฏิเสธไป และผ่องถ่ายให้กับท่านนายกฯจินดา ซึ่งเป็นน้อง ที่มีความขยัน
และสามารถดูแลทุกข์สุขของพี่น้องชาวแหลมฉบัง ได้อย่างทั่วถึง
ก็ภูมิใจแทนประชาชนด้วยเช่นกัน”
ด้าน นายกฯจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง กล่าวว่า “เมืองแหลมฉบัง ถือว่ามีความพร้อมที่สุด
แหลมฉบังเป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศอยู่แหลมฉบัง มีโรงกลั่นน้ำมัน มีโรงงานอุตสาหกรรม
มีดิจิตอลปาร์ค ของโครงการ EEC โครงการใหญ่
ที่รัฐบาลกำหนด ก็มาเกิดที่แหลมฉบัง เพราะฉะนั้นพื้นที่ของแหลมฉบัง
ถือเป็นเมืองพิเศษ ที่มีความพร้อมในทุกๆด้านในทุกมิติอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสาธารณูปโภค ฟ้า น้ำประปา เราได้มีการประชุม เราได้มีการประสาน
แต่แรกเริ่ม ในการเดินท่อขนาดใหญ่เข้ามาในพื้นที่ ถนนหนทางก็ได้มีการขยับขยาย
และได้เพิ่มขึ้นมาอีกหลายเส้น เรียกได้ว่าพื้นที่แหลมฉบังแห่งนี้
มีความพร้อมมากๆที่จะเป็นเมืองพิเศษได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สำหรับในส่วนของพี่น้องประชาชนจะได้อะไรจากการยกระดับขึ้นมาเป็นเมืองพิเศษนั้น
ขอบอกได้เลยว่า พี่น้องประชาชนชาวแหลมฉบัง จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะในเรื่องภาษีการจัดเก็บรายได้ก็จะมีมากขึ้น รายได้ในการจัดเก็บภาษีนั้น
ก็จะนำมาบำรุงและพัฒนาพื้นที่แหลมฉบังให้มีการเจริญเติบโต
และมีความเจริญยิ่งๆขึ้นไปอย่างแน่นอน และในเรื่องของการกำกับดูแลในด้านต่างๆนั้น
ก็จะต้องมีความพิเศษมากกว่าที่อื่นๆ
เมืองแหลมฉบังแห่งนี้ ก็ควรที่จะต้องมีกฎหมายพิเศษ
เนื่องจากในพื้นที่แหลมฉบัง เป็นแหล่งพื้นที่อุตสาหกรรม มีพื้นที่ปิโตรเครมี มีท่าเรือสากลระดับโลก
มีดิจิตอลปาร์ค มีพื้นที่หลากหลายที่เมืองแหลมฉบังของเรา
ต้องมีกฎหมายพิเศษขึ้นมารองรับเพื่อการบริหารจัดการได้อย่างเต็มรูปแบบ
เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
และทางรัฐบาลก็จะต้องจัดงบประมาณส่งมาให้กับทางเมืองพิเศษของเราโดยตรงอีกด้วย
ซึ่งไม่เหมือนกับทางเทศบาลอื่นๆ และในเรื่องภาษีก็จะได้มากกว่าเทศบาลปกติ
เมื่อเราได้มีการจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ก็จะเอามาดูในเรื่องของ สวัสดิการ
การบริการทางสาธารณะต่างๆ ที่จะมาทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่อยู่ดี มีความสุข”
รองศาตราจารย์ ดร.ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา อดีตอนุกรรมาธิการคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการรูปแบบพิเศษและการกระจายอำนาจ กล่าวว่า ทางเทศบาลฯ และ ท่านบุญเลิศ น้อมศิลป์ ได้นำเอาข้อมูลและผลงานต่างๆที่ได้ทำกันมานำเสนอไปแล้ว และได้ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือได้นำเสนอ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งท่านก็ได้เซ็นต์และส่งต่อไปที่ คณะรัฐมนตรีแล้ว กระบวนการต่อไปก็คือ ในช่วงนี้รักษาการอยู่ ยังทำอะไรมากไม่ได้ แต่กฎหมายได้เปิดช่องเอาไว้ว่า หลังจากได้รัฐบาลใหม่ภายใน 6 เดือน ร่างกฎหมาย ร่างข้อเสนอของทางสภาเดิม เคยให้อะไรไว้ มีเวลา 6 เดือน รัฐบาลใหม่ ต้องนำมาปัดฝุ่นพิจารณา ทางเราจึงเสนอเข้าไปว่า ถ้าเป็นไปได้ช่วงนี้ ช่วงหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆเหล่านี้ สะท้อนให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองต่างๆได้รับรู้เลยว่า เมืองแหลมฉบังแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศ สมควรที่จะถูกยกขึ้นเป็นเมืองพิเศษ หากผู้สมัครหรือพรรคการเมืองที่หาเสียงกันอยู่ในขณะนี้ มีความจริงจัง และ จริงใจ ที่จะช่วยกันผลักดันให้เมืองแหลมฉบัง เป็นเมืองพิเศษขึ้นมาได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก การที่จะยกระดับให้เป็นเมืองพิเศษ มีอำนาจพิเศษ จะสามารถช่วยยกระดับ ความน่าสนใจของ EEC ได้เป็นอย่างดี แต่ทุกวันนี้ EEC ไม่มีบทบาทอะไรเลย ไม่มีอะไรที่น่าสนใจ” รองศาตราจารย์ ดร.ธัชเฉลิม กล่าวในที่สุด
ความคิดเห็น
/