“มนพร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานลงนามในสัญญา เพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรสำหรับยกขนตู้สินค้าในท่าเรือ (RTG) จากพลังงานดีเซลเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ กลุ่ม บ.แอลซีบีวัน ระหว่าง LCMT และ ZPMC korea พร้อมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบัง
วันนี้ (2 พ.ย.) นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรสำหรับยกขนตู้สินค้าไปท่าเรือ (RTG) จากพลังงานดีเซลเป็นพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ระหว่างบริษัท แอล ซี เอ็ม ที่ จำกัด (LCMT) และบริษัท แซต พี เอ็ม ซี โคเรีย จำกัด ( ZPMC korea ) พร้อมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีนายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพันธ์ นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย Mr. Ole Lindholm กงสุลพาณิชย์ ตัวแทนจากเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย น.ส.ฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ผู้แทนจากกรมเจ้าท่า ผู้บริหาร และพนักงานการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ ท่าเรือแหลมฉบัง
นางมนพร กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้ยืนยันถึงความตั้งใจของประเทศไทยในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2573 ของสหประชาชาติ (UN) ในการประชุมระดับผู้นำ ณ สำนักงานใหญ่ UN เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 โดยประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะผลักดันความร่วมมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือทุกระดับในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการพลังงานสมัยใหม่และใช้นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระทรวงฯในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการขนส่งของประเทศได้ตอบรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการผลักดันให้ภาคเอกชนที่อยู่ในกำกับดูแล ดำเนินธุรกิจด้วยการนำวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในท่าเรือ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
การที่บริษัท LCMT ผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับสัมปทานจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจท่าเทียบเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ ในพื้นที่ ท่าเรือแหลมฉบัง ได้ริเริ่มนำนวัตกรรมมาปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักร ที่ให้บริการในท่าเรือให้มาใช้พลังงานสะอาดแทนที่พลังงานจากฟอสซิล เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยสู่อากาศ ถือเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินธุรกิจอันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพร้อมสู่การเป็นท่าเรือสีเขียวในอนาคตตามนโยบายของกรมฯและรัฐบาลไทย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หลักในการให้บริการท่าเทียบเรือระหว่าง ประเทศในท่าเทียบเรือ O ท่าเรือแหลมฉบัง โดยบริษัท LCMY ร่วมกับบริษัท ZPMC Korea มีมูลค่าการลงทุนกว่า 145 ล้านบาท เมื่อการปรับปรุงแล้วเสร็จ จะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 1.5 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนต่อปี และจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการรายอื่นได้ตระหนักถึงความสำคัญในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน และการดำเนินธุรกิจขนส่งทางน้ำอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลไทย และตามเป้าหมายของ UN ต่อไป
ด้านนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในฐานะตัวแทนของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณกลุ่มบริษัท แอลซีบีวัน ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือบี 1 และท่าเทียบเรือเอ 0 ที่ตลอดระยะเวลากว่า 28 ปีที่ผ่านมาได้ ร่วมมือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการส่งมอบบริการด้านโลจิสติกส์ให้กับเรือขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศขนาดใหญ่ด้วยมาตรฐานท่าเทียบเรือระดับโลก ซึ่งทำให้สายเดินเรือระหว่าง ประเทศเชื่อมั่นและมั่นใจว่าประเทศไทยจะได้ให้บริการขนส่งตู้สินค้าได้รวดเร็ว ปลอดภัยและเป็น มาตรฐานสากล ความเชื่อมั่นดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นจากปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าที่เข้ามาใช้บริการ ท่าเทียบเรือบี 1 และเอ 0 สูงถึงกว่า 1.7 ล้านทีอียูต่อปีหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของ ปริมาณตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ทั้งหมดของประเทศ การจัดการสินค้าที่ดีทำให้เกิดเศรษฐกิจ หมุนเวียนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และทำให้ฟันเฟืองของระบบโลจิสติกส์โลกหมุนไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทยและกลุ่มบริษัท แอลซีบีวัน ยังได้มี ความร่วมมือกันในมิติด้านการกิจกรรมเพื่อสังคมและการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องขอบคุณในความพยายามของกลุ่มบริษัท แอลซีบีวัน ที่ได้ร่วมมือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการประกอบกิจการท่าเทียบเรือบี 1 และเอ0 อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยลงทุนเพิ่มเติม กว่า 145 ล้านบาทในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่ใช้ในลานตู้สินค้าของท่าเรือจากเดิมที่ใช้แต่ พลังงานจากน้ำมัน มาใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิส อันจะทำให้สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้ ซึ่งโครงการลงทุนใน ครั้งนี้ สอดรับกับวิสัยทัศน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่ว่า “มุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำ ระดับโลก พร้อมการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2573 "
ทั้งนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้เดินทางตรวจไปเยี่ยมการปฏิบัติงานท่าเรือแหลมฉลบัง ร่วมกับคณะผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบังพร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือระยะที่ 3 ส่วนที่ 1 เยี่ยมชมการปฏิบัติงาน ณ ท่าเรือ D บริษัทฮัทชิสัน เทอร์มินอล และการแก้ไขปัญหาจราจร บริเวณพื้นที่ในท่าเรือ รวมถึงโครงการSRTO
สำหรับโครงการ SRTO เป็นศูนย์กลางการขนส่งตู้สินค้าทางรางของท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ระหว่างท่าเทียบเรือชุด B และชุด C พัฒนาขึ้นตามนโยบายการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนเป็นทางราง สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น ลดมลภาวะ รวมทั้งลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมของประเทศให้ต่ำลง โดยโครงการดังกล่าวการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือยกขนหลักทั้งหมด และให้ท่าเรือแหลมฉบังดำเนินการจ้างเหมาเอกชนดำเนินการเคลื่อนย้ายและบริหารจัดการตู้สินค้าภายในโครงการ
ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนในการขนส่งตู้สินค้าทางบกมาสู่ทางรางที่ท่าเรือแหลมฉบังจะมีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ 2 ล้านทีอียูต่อปี ซึ่งจะทำให้สัดส่วนในการขนส่งตู้สินค้าทางบกมาสู่ระบบการขนส่งทางรางที่ท่าเรือแหลมฉบังเพิ่มขึ้นจากเดิม 7 เปอร์เซ็นต์ มาเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ในอนาคต
ความคิดเห็น
/